เข้าระบบ

ชื่อเรียก:

รหัสผ่าน:

จำฉัน



ลืมรหัสผ่าน?

สมัครสมาชิก!

เมนู






เทคนิค​เพื่อให้​ได้ตรวจ​กับแพทย์ดีๆ ...​.
มือสมัครเล่น
เป็นสมาชิกเมื่อ:
9/11/2008 22:46
กลุ่ม:
สมาชิก
โพส: 30
เทคนิค​เพื่อให้​ได้ตรวจ​กับแพทย์ดีๆ ...​.

เทคนิค​เพื่อให้​ได้ตรวจ​กับแพทย์ดีๆ
สวัสดีปีใหม่ครับ ชาวโทรโข่งทุกท่าน
วันนี้มีเทคนิคดีๆ มาฝาก

เคยไหมครับ ​ที่เวลาเข้า​ไปตรวจ​กับแพทย์ เจอแพทย์ตวาดใส่ พูดห้วนๆ ถามคำตอบคำ
เหมือนไม่ใส่ใจเรา บางครั้งตรวจแบบขอ​ไปที บางคนแล้ว​หนักโดนไล่ตะเพิดออกมา
​ที่โดนหมอด่าก็ไม่ใช่น้อย ถามอะไร​ก็ไม่เคย​จะ​ได้คำตอบ ​และอีก ฯลฯ
ซึ่งผมเชื่อว่า แพทย์ดีๆ มีมากกว่าแพทย์​ที่ไม่ดี
แต่บางครั้งแพทย์ดีๆ ก็กลายแพทย์​ที่ไม่ดี​ได้ หากถูกอารมณ์เข้าครอบงำ
ดังนั้น​วันนี้ ผมจึงขอนำเสนอ​เทคนิคดีๆ
​เพื่อให้ทุกท่าน​ได้รับการตรวจจากแพทย์​เป็น​ไปอย่างราบรื่น อาจ​จะหลายข้อสักหน่อย​ แต่คาดว่าน่ามีประโยชน์ค่อนบ้างครับ
ให้​เป็นของขวัญปีใหม่ปี 2552 แล้ว​กันนะครับ

เทคนิค​เพื่อให้​ได้ตรวจ​กับแพทย์ดีๆ ข้อ​ที่

1. หากท่านเข้า​ไปตรวจ​กับแพทย์​ที่แผนกผู้ป่วยนอก ​แม้ท่าน​จะรอนานหงุดหงิด หรือไม่พอใจอะไร​อยู่​ก่อน (เช่น พยาบาลจัดคิวให้ผิด รอตรวจช้า หาประวัติไม่เจอ ฯลฯ) ขอให้ท่านโยนมันทิ้ง​ไป ทำใจให้สงบ แล้ว​เข้าตรวจด้วยอารมณ์​ที่ดี​และ​เป็นกลาง บางท่านเข้า​ไปถึง​เมื่อเจอแพทย์ ประโยคแรก​ที่พูด​กับหมอก็​คือ “รอตั้งนานกว่า​จะ​ได้ตรวจ!” นั่นอาจทำให้สัมพันธภา​พระหว่างผู้ป่วย​กับแพทย์จบลงตั้ง แต่ยังไม่​ได้ตรวจ! เพราะแพทย์บางท่านอาจ​จะหงุดหงิดขึ้น​มาทันที ​ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่า แพทย์ท่านอาจ​จะตรวจตลอด ห้องน้ำก็ยังไม่​ได้เข้า ข้าวกลางวันก็ไม่​ได้กิน แพทย์อาจคิดว่า ไม่ใช่​ความผิดของตน​ที่คนไข้รอนานกว่า​จะ​ได้ตรวจ เพราะคนไข้เยอะ เพราะบางราย​ต้องตรวจละเอียด บางราย​ต้องทำหัตถการ ​เป็นต้น ทำให้ไม่​สามารถตรวจให้เร็วถูกใจคนไข้​ได้ (ตรวจเร็วก็ว่า ตรวจไม่ละเอียดอีก)

ดังนั้น​การถูกคนไข้ระบาย​ความอัดอั้นใส่ตั้ง แต่ยังไม่​ได้ตรวจ จึงอาจทำให้แพทย์ท่านหงุดหงิด โกรธ หรือน้อยใจ จนทำให้ระบายอารมณ์​ที่อัดอั้นใส่แก่คนไข้คืน​ได้เช่นกัน บางท่านอาจ​จะหยุดตรวจ​ไปเสียดื้อๆ บางท่านอาจ​จะตรวจแบบลวกๆ ให้ผ่าน​ไปที บางท่านตวาดกลับใส่คนไข้ ​เป็นต้น

การแก้ไข หากท่านอยาก​ได้​ความมีไมตรีจิตต่อกัน​ที่ดี อย่าพยายามระบายใส่แพทย์ ​เมื่อเข้า​ไปถึง ประโยค​ที่ควรพูด​เพื่อสร้างสัมพันภาพ​ที่ดีต่อกันก็​คือ “สวัสดีค่ะ /สวัสดีครับ ” ท่าน​จะยกมือไหว้แพทย์หรือไม่ก็​ได้ครับ แล้ว​ แต่ท่าน แต่​ถ้าไหว้ก่อนกรณี​ที่เห็นว่า แพทย์อาวุโสกว่า (หรือ​แม้ว่า แพทย์ท่าน​จะอายุน้อยกว่า) ย่อมสร้างสัมพันธภาพ​ที่ดีมากขึ้น​ หากแพทย์ไม่​ได้ไหว้ตอบขอท่านอย่าถือสา ให้คิดว่า แพทย์ท่านอาจ​กำลังยุ่ง จดนู่นจดนี่อยู่​ แต่​โดยมารยาทแล้ว​ คน​ที่ควรยกมือไหว้ก่อนควร​จะ​เป็นแพทย์เสียด้วยซ้ำ แต่หากคนไข้ไหว้ก่อน แพทย์ก็ควรรับไหว้ทุกราย ตามวัฒนธรรมประเพณี​และแสดงถึงไมตรีจิต​ที่มีต่อกัน หลังจากทักทายดังกล่าวแล้ว​ หากอยาก​จะพูด​เพื่อเริ่มสนทนา ​เพื่อสร้างบรรยากาศ​ที่ดี อาจ​ใช้ประโยค​ที่แสดงถึง​ความห่วงใย ​เป็นห่วงหรือให้​กำลังใจ เช่น “สวัสดีครับ คุณหมอ, คนไข้เยอะเชียว เหนื่อยแย่เลย​นะครับ ” ​เป็นต้น

2. แพทย์บางคน​จะพยายามซักประวัติ​เพื่อให้​ได้มา ซึ่งคำตอบของโรค ดังนั้น​อาจ​จะไม่พึงพอใจ หากเจอคนไข้​ที่มาถึงแล้ว​ชอบระบายก่อน​ที่​จะ​ได้ซักประวัติ เช่น “สวัสดีค่ะ คุณหมอ ดิชั้น​เป็นอะไร​ไม่รู้ ปวดหัว​ทั้งวัน ปวดตรงขมับ จี๊ดๆ บางทีก็หนาวๆ ร้อนๆ ​จะว่า เครียดก็ไม่​ได้เครียด แต่ว่า ทานอะไร​ไม่ค่อย​ได้เลย​ นี่น้ำหนักลดลง​ไปตั้ง 2 กิโล แล้ว​เวลากินข้าวเนี่ยชอบปวดตรงลิ้นปี่ แน่นหน้าอก คลื่นไส้ แล้ว​ใจมัน​จะไม่ค่อยดี หวิวๆ บางทีก็ ...​ ฯลฯ” ​โดย​ที่ไม่มีการหยุดเว้นวรรคให้แพทย์​ได้ซักถามประวัติ เพราะบางทีประเด็น​ที่คนไข้เล่า ไม่​ได้ตรงจุด​ที่แพทย์​ต้องการทราบ​เพื่อให้​ได้มา ซึ่งการวินิจฉัย

ดังนั้น​คนไข้ประเภทนี้อาจ​จะทำให้แพทย์หงุดหงิดขึ้น​มา​ได้ในทันที เพราะอาจทำให้เสียเวลาตรวจคนไข้รายอื่น (​แม้ว่า ​โดยหลักการแพทย์ควร​จะ​ได้รับฟังทุกปัญหาของคนไข้ แต่บางครั้งในแผนกผู้ป่วยนอก​ที่คนไข้รอตรวจเยอะๆ เราก็คงไม่อาจทำ​ได้เต็ม​ที่​ทั้งหมด” การแก้ไข​คือ ควรบอกประเด็นสำคัญของการมาตรวจครั้งนี้ หรือแจ้งอาการสำคัญ​ที่มาตรวจ เช่น “สวัสดีค่ะ คุณหมอ วันนี้มาตรวจด้วยเรื่อง​อาการปวดศีรษะค่ะ ” หลังจากนั้น​แพทย์อาจ​จะให้ท่านเล่ารายละเอียดว่า อาการ​เป็นอย่างไร ท่านจึงค่อยๆ เล่า หรือแพทย์อาจซักถาม​เป็นประโยคปิด ​เพื่อให้​ได้คำตอบ​ที่รวดเร็ว​และตรงประเด็น เช่น มีปวดร้าว​ไปท้ายทอยหรือไม่ มีอาการปวดมากตอนทำอะไร​ ​เป็นต้น ​โดยหากท่าน​ต้องการ​จะบอกกล่าวอะไร​เพิ่มเติมนอกเหนือจาก​ที่แพทย์ถาม อาจ​จะ​ใช้ว่า “ขอโทษนะคะ คุณหมอ ดิฉันยังมีอาการ...​.ด้วยค่ะ ” ​เป็นต้น

3. บางครั้งคนไข้มาตรวจด้วยเรื่อง​อาการเดิม​ที่ไม่ดีขึ้น​ อย่าพยายามระบายเรื่อง​ราว​ที่ผ่านมาให้แพทย์ท่านรับทราบก่อน​ที่​จะ​ ได้รับการซักประวัติ หรือการตรวจ เช่น “สวัสดีค่ะ คุณหมอ ยา​ที่คุณหมอให้​ไปทานทานแล้ว​ไม่ดีขึ้น​เลย​ คลื่นไส้เวียนหัวตลอด รักษามาตั้งหลายครั้งก็เหมือนเดิม” ท่านอาจ​ต้องพิจารณาก่อนว่า แพทย์​ที่ท่านเข้าตรวจนั้น​​คือแพทย์คนเดิม​ที่เคยตรวจท่านหรือไม่ เพราะหากไม่ใช่ การพูดเช่นนี้อาจทำให้แพทย์คนนี้หงุดหงิดขึ้น​มา​ได้ แพทย์อาจคิดว่า ยา​ที่คนไข้​ได้​ไปคราว​ที่แล้ว​ไม่ใช่ยา​ที่ตนเองสั่งเสียหน่อย​ ทำไม​ต้องมารับผิดชอบ​กับสิ่ง​ที่คนไข้มาบอกว่าเรารักษาไม่ดีด้วย ​ทั้งๆ ​ที่ตนเองไม่ใช่คน​ที่เคยรักษาคนไข้มาก่อน ​ต้องมาทนนั่งฟังคำบ่น​ที่ไม่​ได้เกิดจากตนเองกระทำ

หรือ ​แม้ แต่​เป็นแพทย์ท่านเดิม​ที่ท่านเคยตรวจหรือรับยา​กับ​เขามาก่อน การพูดเชิงตำหนิติติงตั้ง แต่เข้ามานั่ง ก็ไม่ใช่สิ่ง​ที่​จะสร้างสัมพันธไมตรี จริงอยู่​​ที่อาการของท่านไม่ดีขึ้น​ แต่อาจเกิดจากหลายๆ ปัจจัย ไม่จำ​เป็นว่า ​จะ​ต้องเกิดจากการ​ที่แพทย์รักษาไม่ดี เช่น ปวดท้องตลอดไม่ทุเลา แต่ท่านยังคงทานสุราประจำ , เบาหวานขึ้น​ยาก็ทานตลอด แต่ควบคุมอาหาร​ได้ไม่ดี , ปวดหัวตลอด ทานยา​ไปแล้ว​ก็ไม่หาย (แต่ยัง​สามารถปรับยาให้แรงขึ้น​​ได้อีก ขอเวลาหน่อย​) ...​.. ​เป็นต้น ดังนั้น​ขอให้ท่าน​ได้เปิดโอกาสให้แพทย์ท่านซักประวัติ ตรวจร่างกาย หาสาเหตุว่า เพราะอะไร​จึงไม่ดีขึ้น​ก่อนครับ

4. ในการพูดคุยกัน อย่าพยายาม​ใช้ประโยค​ที่ส่อถึง​ความกังวลมากจนเกินเหตุ ให้เชื่อมั่นในการวินิจฉัยหรือการรักษาของแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น คนไข้มาตรวจด้วยเรื่อง​ก้อน​ที่หน้าอกบริเวณกระดูกหน้าอก แพทย์บอกว่าปกติดี ไม่ใช่ก้อนอันตราย ไม่ใช่ก้อนมะเร็ง ​เป็นแค่กระดูกไหปลาร้า​ส่วนหัวมันนูนขึ้น​จนคลำ​ได้เท่านั้น​เอง คนไข้ก็บอกว่า “อ้าว แล้ว​ทำไมอีกข้างไม่มีก้อนนูนขึ้น​มา” แพทย์บอกมันไม่จำ​เป็น​ต้องนูน​ทั้ง 2 ข้าง “ไม่อันตรายแน่นะคะ ไม่ใช่มะเร็งแน่นะคะ เพราะน้องสาวดิฉัน​เป็นมะเร็งกระดูกอยู่​ แม่ก็​เป็นมะเร็งเต้านม” “ดิฉันขอตรวจเลือดดูว่า ​เป็นมะเร็งกระดูกหรือเปล่า ดิฉันขอเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ดูว่า ข้างในมีมะเร็งรึเปล่า” “หมอไม่เจาะก้อน​ไปตรวจหามะเร็งหรือคะ ” ​เป็นต้น

5. ​เมื่อแพทย์ท่านแนะนำแล้ว​ว่า อะไร​ดีไม่ดี อะไร​ควรทำหรือไม่ควรทำ ท่านอาจรับฟังแล้ว​ลองปฏิบัติตามดูก่อน ไม่ควร​เอาตนเอง​ไปเปรียบ​กับคนไข้รายอื่น เพราะคนไข้ แต่ละรายไม่เหมือนกัน แนวทางการหาสาเหตุแนวทางการรักษาอาจไม่เหมือนกัน เช่น คนไข้กินยาฆ่าตัวตายมา ญาติกังวลว่า ทำไมแพทย์ไม่ยอมล้างท้อง ลูกสาวตนเคยกินยามาก็เห็นแพทย์ล้างท้องให้ แล้ว​ก็ปลอดภัย อาจ เพราะยา​ที่ทานครั้งนี้อาจ​เป็นกลุ่มกรดด่าง​ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ​เป็นข้อห้ามในการล้างท้อง ​เป็นต้น

6. ไม่ควร​ใช้ประโยค​ที่มีแนวโน้มเชิงหาเรื่อง​แพทย์ เช่น “แล้ว​ตกลงดิฉัน​เป็นอะไร​กันแน่” อาจ​ต้องทำ​ความเข้าใจ ตาม แต่ละธรรมชาติของโรค โรคบางโรคกว่า​จะรู้ว่า ​เป็นอะไร​​ใช้เวลานาน ​ต้องรอผลชิ้นเนื้อ ผลเพาะเชื้อ ​เป็นอาทิตย์​เป็นเดือน อาจลำบาก​ที่​จะให้แพทย์ฟันธงว่า คนไข้​เป็นอะไร​ เพราะข้อมูลในมือแพทย์อาจยังไม่เพียงพอ​ที่​จะสรุป​ได้ ยัง​ต้องรอทำสิ่งอื่นต่อ​ไปก่อน หาก​ต้องการถาม ควรเลี่ยง​ไป​ใช้ประโยคว่า “ขอโทษนะคะ คุณหมอ เบื้องต้นคุณหมอสันนิษฐานว่า ดิฉันป่วย​เป็นอะไร​คะ ” ​จะดีกว่า

7. ​เมื่อแพทย์ท่านซักประวัติ ท่านอาจ​ต้องให้​ความร่วมมือบ้าง บางครั้ง​แม้ท่าน​จะทราบว่า ประโยคเหล่านี้เคยถามแล้ว​ ก็ตาม เช่น หมอถามคนไข้ว่า “แพ้ยาอะไร​ไหมครับ ” ท่านไม่ควรตอบว่า “ในประวัติก็มีแล้ว​นี่นา” ท่านควร​จะบอกซ้ำตอบอีก การ​ที่แพทย์ถาม​เพื่อดูว่า ประวัติ​ที่ลงไว้​กับ​ที่คนไข้ทราบว่า แพ้อยู่​นั้น​ตรงกันหรือไม่ หรือ​เพื่อดูว่า คนไข้ทราบหรือไม่ว่า ตนเองแพ้ยาชื่อว่า อะไร​ ​ถ้าไม่ทราบ​จะ​ได้แจ้งให้ทราบ การตอบเช่นนั้น​ ไม่สร้างสัมพันธภาพเท่าไรนัก

8. ระหว่างตรวจ​กับแพทย์ ​เป็น​ไป​ได้ควรปิดโทรศัพท์มือถือ เพราะ​จะขัดจังหวะการซักถามประวัติ หรือ บางครั้งขณะทำหัตถการบางอย่าง ​ถ้าท่านไม่อยู่​นิ่งๆ หรือท่าน​กำลังคุยโทรศัพท์ หรือปล่อยให้เสียงโทรศัพท์ดังตลอดเวลา แพทย์​จะเสียสมาธิ หงุดหงิด หรืออาจเกิดอันตรายขึ้น​​ได้ แต่​ถ้าไม่ปิดหากมีผู้โทรเข้าท่านควรขออนุญาตรับแล้ว​บอกว่าท่าน​ จะโทรกลับภายหลัง​กำลังตรวจ​กับแพทย์อยู่​ ไม่ควรคุยธุระ​ไป ให้แพทย์ตรวจ​ไปพลาง หรือคุยธุระจนเสร็จแล้ว​ค่อยให้แพทย์ตรวจหรือซักถามต่อ พึงระลึกเสมอว่า มีคนไข้รอตรวจอีกหลายคน

9. ​ถ้าท่านมีธุระ​ส่วนตัว​กับแพทย์ อย่า​ได้นำมาพูดคุยกันระหว่าง​ที่แพทย์ตรวจอยู่​​ที่แผนก ควรหาเวลาว่างนัดหมาย​เป็นการ​ส่วนตัว เพราะ​จะทำให้คนไข้รายอื่นรอนานขึ้น​ ​และแพทย์อาจ​จะหงุดหงิด ตำหนิ ​ที่ท่านไม่รู้จักกาลเทศะ ​เอาเวลางาน​กับเรื่อง​​ส่วนตัวมาปนกัน

10. ไม่ควร​ใช้ประโยคเชิงบังคับหรือออกคำสั่งแก่แพทย์ เพราะแพทย์บางท่าน​จะไม่ชอบการมีคนมาสั่งให้ทำนู่นนี่ เช่น คนไข้อุบัติเหตุรถล้มไม่สลบตั้ง แต่​เมื่อ 5 วันก่อน วันนี้มีอาการปวดหัว ญาติพามาหาหมอ แล้ว​พูดว่า “หมอ เอ็กซเรย์กะโหลกหน่อย​ ดูซิข้างในหัว​เป็นอะไร​มากรึเปล่า ปวดหัวเรื่อยเลย​” การส่งทำหัตถการใดๆ อยู่​​ที่ดุลยพินิจของแพทย์ ว่ามีข้อบ่งชี้หรือไม่ จำ​เป็นหรือไม่จำ​เป็น ทำแล้ว​​ได้ประโยชน์หรือไม่ เสียค่า​ใช้จ่าย​โดยใช่เหตุหรือไม่ ดีหรือเสียมากกว่ากัน ​เป็นต้น ​ถ้าท่านมี​ความกังวล​และอยากเอ็กซเรย์ ควรเล่าประวัติ​และรอแพทย์ตรวจร่างกายเสร็จก่อน แล้ว​​ใช้ประโยค​ที่ว่า “คุณหมอคะ จำ​เป็น​ต้องเอ็กซเรย์กะโหลกไหมคะ ” หรือ “​ถ้า​จะเอ็กซเรย์กะโหลก​จะมีประโยชน์ไหมคะ ” หรือ “ในคนไข้รายนี้ การเอ็กซเรย์กะโหลก​จะช่วยอะไร​​ได้บ้างไหมคะ ” ​จะนุ่มนวลกว่าครับ

วันนี้นำมา 10 ข้อก่อนครับ ยังมีอีกหลายข้อครับ
นำมาจากประสบการณ์​ทั้งจากตนเอง​และจากการสังเกตแพทย์คนอื่นๆ ครับ

../ แพทย์ก้อมีหัวใจ

โพสเมื่อ : 16/3/2009 16:05
Transfer the post to other applications Transfer


Re: เทคนิค​เพื่อให้​ได้ตรวจ​กับแพทย์ดีๆ ...​.
มือเซียน
เป็นสมาชิกเมื่อ:
11/4/2007 17:18
กลุ่ม:
ผู้คุ้มกฎ
โพส: 3995

โพสเมื่อ : 16/3/2009 17:08
_________________
Life goes on. Open in new windowOpen in new windowOpen in new window
Transfer the post to other applications Transfer


Re: เทคนิค​เพื่อให้​ได้ตรวจ​กับแพทย์ดีๆ ...​.
มืออาชีพ
เป็นสมาชิกเมื่อ:
29/9/2008 18:50
กลุ่ม:
สมาชิก
โพส: 241
เห็นใจแพทย์ที่ดีนะครับ แต่ก็เห็นใจคนไข้ที่ดีเช่นกัน

โพสเมื่อ : 17/3/2009 20:49
_________________
Acer A150 Hdd120 สีดำ
SystemA110 Ghost by c-cew
Transfer the post to other applications Transfer







[ค้นหา ขั้นสูง]