เข้าระบบ

ชื่อเรียก:

รหัสผ่าน:

จำฉัน



ลืมรหัสผ่าน?

สมัครสมาชิก!

เมนู






สารพิษที่มากับพลาสติกและกล่องโฟมใส่อาหาร
มือวาง
เป็นสมาชิกเมื่อ:
15/5/2007 16:45
กลุ่ม:
สมาชิก
โพส: 927
กล่องโฟมใส่อาหาร : ภัยใกล้ตัวที่นึกไม่ถึง

พี่ลักษณ์ เคยต่อสู้กับโรคมะเร็งเต้านมอยู่ช่วงนึง ตอนนี้หายดีแล้ว บอกว่า คุณหมอแนะนำเกี่ยวกับอาหารและการใช้ชีวิตประจำวันด้วย เรื่องนึงที่น่าสนใจคือ อย่าทานอาหารร้อนๆ ที่บรรจุลงถุงพลาสติก เพราะมีสารกระตุ้นมะเร็ง

เจอข้อมูลน่าสนใจ เอามาบอกกัน

สารพิษที่มากับพลาสติกและกล่องโฟมใส่อาหาร
ผศ. ดร. นันทพร ภัทรพุทร

ผู้คนในยุคไอทีคงคุ้นเคยกับอาหารถุงหรือกล่องโฟม เป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ที่พลาสติกและกล่องโฟมถูกใช้แทนใบตอง หรือกระดาษ ในการบรรจุอาหาร อาจเป็นเพราะสะดวก และราคาไม่แพง แต่จะมีผู้บริโภคสักกี่คนที่ตระหนักถึงอันตรายที่แฝงอยู่ในภาชนะบรรจุที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกล่องโฟมมักถูกนำไปใช้ในการบรรจุอาหารที่ร้อนและมีน้ำมัน อาจทำให้เกิดอันตรายจากสารปนเปื้อนที่แยกตัวออกมาจากภาชนะบรรจุได้

ชนิดของสารที่ใช้ในการทำภาชนะบรรจุมีหลายประเภท ได้แก่ โพลีเอทิลีน (ใช้เป็นถุงเย็นหรือถุงร้อนสีขาวขุ่น) โพลีโพรพิลีน (ใช้เป็นถุงร้อนใส) โพลีไวนิลคลอไรด์ (พบในพลาสติกพีวีซี) โพลีสไตรีน (ใช้ทำถ้วย ถาด กล่อง แก้ว ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง)

สารพิษที่พร้อมจะปนเปื้อนกับอาหารจากการใช้ถุงพลาสติกหรือกล่องโฟมเหล่านี้มีมากมายหลายชนิด เช่น ในกล่องโฟม / ถาดโฟมที่ใช้บรรจุอาหาร เมื่อได้รับความร้อนสูงจะให้สาร 2 ชนิด คือ เบนซีน (benzene) และสไตรีน (styrene) ซึ่งสารดังกล่าวจะละลายได้ดีในอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน สำหรับเบนซีน หากได้รับเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานานอาจทำให้เป็นโรคโลหิตจาง (anemia) หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) ได้ ส่วนสไตรีน ผลต่อร่างกายเมื่อถูกผิวหนังหรือเข้าตาจะทำให้ระคายเคือง หากสูดดมเข้าไปจะมีอาการไอ และหายใจลำบาก เพราะไปทำให้เยื่อเมือกเกิดความระคายเคือง ปวดศีรษะ ง่วงซึม อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลระบุความเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ แต่เกิดมะเร็งได้ในสัตว์ทดลอง นอกจากเบนซีนและสไตรีนแล้ว ยังมีสารไวนิวคลอไรด์ (vinylchloride) ที่ปนเปื้อนในพลาสติกพีวีซี ซึ่งสารตกค้างของไวนิลคลอไรด์ อาจทำให้เกิดมะเร็งตับได้ และสารไดออกซิน (dioxin) ซึ่งพบในพลาสติกบางประเภท ไดออกซินเป็นสารก่อมะเร็งในปอด กระเพาะอาหาร ตับ ต่อมน้ำเหลือง และผิวหนัง มีผลต่อระบบการสืบพันธุ์ ในเพศชายทำให้มีตัวอสุจิน้อยลง ส่วนเพศหญิงรังไข่และมดลูกจะผิดปกติ ซึ่งทารกที่เกิดจากหญิงที่ได้รับสารชนิดนี้ในปริมาณมาก มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติในวัยแรกเกิดด้วย

สารพิษเหล่านี้กว่าจะย่อยสลายได้ต้องใช้เวลานานหลายร้อยปีเลยทีเดียว และที่สำคัญ คือ อันตรายที่จะเกิดกับร่างกายของคนที่รับสัมผัส โดยปริมาณที่ปนเปื้อนจะขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร ระยะเวลาสัมผัสกับอาหาร และอุณหภูมิของอาหาร ดังนั้นการเลือกใช้พลาสติก หรือโฟมต้องเลือกใช้ชนิดที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร และเหมาะสมกับการใช้งาน

โฟมชานอ้อย หรือภาชนะบรรจุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากมันสัมปะหลัง ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถใช้บรรจุอาหารร้อน เย็นได้ และปลอดภัยจากสารปนเปื้อนดังกล่าว อีกทั้งไม่มีสารคลอรีนตกค้าง และใช้กับเตาอบและไมโครเวฟได้ด้วยหรือถ้าจะหันกลับไปใช้ปิ่นโตเหมือนยุคโบราณได้ก็จะดีไม่น้อย เพราะนอกจากจะลดต้นทุนค่ารักษาโรคที่เกี่ยวกับสารพิษ ลดต้นทุนค่าเก็บและกำจัดขยะ แล้วยังช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้อีกด้วย


เอกสารอ้างอิง
1. วิถีมีเดีย. โฟม. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%A1
2. ชิตพงษ์ กิตตินราดร. ความมหัศจรรย์ของการใช้ปิ่นโต. http://gotoknow.org/blog/guopai/176634
3. จงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี และ สุชัญญา พลเพชร. พลาสติกบรรจุอาหารและกล่องโฟม ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย. http://www.fda.moph.go.th/project/foodsafety/foodbackhome/news
4. อย่าละเลยกับถุงพลาสติกและกล่องโฟมใส่อาหาร. http://www.pcccr.net/forum/index.php?action= printpage;topic=41.0



ข้อมูลจาก http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=2816


http://www.bloggang.com/mainblog.php? ... -09-2009&group=6&gblog=10

โพสเมื่อ : 16/9/2009 9:03
Transfer the post to other applications Transfer







[ค้นหา ขั้นสูง]