เข้าระบบ

ชื่อเรียก:

รหัสผ่าน:

จำฉัน



ลืมรหัสผ่าน?

สมัครสมาชิก!

เมนู

Technics & Articles : ชนิดและความแตกต่างของ Input Panel ของ Pocket PC
ส่งมาโดย kiat เมื่อ 20/8/2007 14:50:00 (3045 ครั้งที่อ่าน) ข่าวสารโดยนักเขียนคนเดียวกัน

ชนิดและความแตกต่างของ Input Panel ของ Pocket PC

สำหรับการบันทึกข้อมูลเข้าเครื่อง Pocket PC นั้น ถือว่ามีทางเลือกมากจริงๆ ครับ สามารถเลือกใข้งานได้ตามถนัดของผู้ใช้แต่ละคน ไม่มีกฎตายตัวว่าอย่างไหนดีกว่ากัน หรือสามารถบันทึกข้อมูลได้เร็วกว่ากัน คงต้องเป็นผู้ใช้เองที่จะตอบได้ว่าชอบใช้งานแบบไหนครับ ผมจะเขียนถึงช่องบันทึกข้อมูลเข้าแบบมาตรฐานที่มากับเครื่องก่อนซึ่งจะใช้ได้เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ



Block Recognizer : หากผู้ใช้เคยใช้งานเครื่องในระบบ PalmOS มาก่อน จะคุ้นเคยกับ Block Recognizer ดี เพราะการเขียนนั้นจะเหมือนกัน Graffiti ของเครื่อง PalmOS การเขียนตัวหนังสือแต่ละตัวจะใช้การลากเพียงจังหวะเดียว (Single Stroke) ไม่สามารถเขียนแบบหลายจังหวะได้ (Multi Stroke) ทำให้ผู้ใข้งานต้องเรียนรู้วิธีการเขียนจากรูปแบบที่มีอยู่ซึ่งจะไม่เหมือนกันภาษาอังกฤษปกติ แต่สามารถเขียนตัวอักษรได้ทุกตัวแม้แต่อักขระพิเศษต่างๆ เช่น ตัว &, # เป็นต้น ในช่องบันทึกข้อมูลนี้จะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกสำหรับการเขียน อีกส่วนสำหรับการพิมพ์อักขระพิเศษ ในส่วนของการเขียนก็จะแบ่งอีกสองด้าน โดยด้านซ้ายสำหรับการเขียนตัวอักษร ด้านขวาสำหรับการเขียนตัวเลข



Keyboard
: หน้าจอจะมีคีย์บอร์ดเสมือนขึ้นมา การใช้งานก็เพียงนำสไตลัสมาจิ้มให้ตรงตัวอักษรที่ต้องการเท่านั้นโดยจะมีแป้นอักษระพิเศษและตัวเลขไว้อีกชุดหนึ่งเพื่อให้การบันทึกข้อมูลตัวเลขมากๆ ทำได้สะดวกมากขึ้น หากผู้ใช้เคยสามารถใช้งานแป้นคีย์บอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ แถมคีย์บอร์ดเสมือนใน Pocket PC ยังมีจุดเด่นพิเศษอีกคือ นอกการการจิ้มหรือพิมพ์ลงไปตรงๆ ในแต่ละตัวอักษรแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถลากจากตัวอักษรขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวาได้ด้วย โดยหากลากขึ้นจะเป็นการยกแป้น Shift จะเป็นการพิมพ์ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ หากลากไปทางซ้ายจะเป็นเหมือนกดปุ่ม Backspace หากลากไปทางขวาจะเป็นเหมือนการกดปุ่ม Space และหากลากลงจะเป็นเหมือนการกด Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ครับ



Letter Recognizer : การบันทึกข้อมูลแบบนี้จะเป็นธรรมชาติมากที่สุด เนื่องจากจะใช้วิธีเขียนภาษาอังกฤษด้วยตัวพิมพ์เล็ก ผู้ใช้ไม่ต้องเรียนรู้วิธีเขียนใหม่ การเขียนสามารถเขียนเป็นหลายจังหวะได้เหมือนการเขียนภาษาอังกฤษปกติได้เลย ตัวอย่างตัวอักษรที่ต้องเขียนหลายจังหวะ เช่น ตัว อักษร t ซึ่งจะต้องเขียนลากลงก่อนหนึ่งจังหวะแล้วเขียนลากขวางอีกหนึ่งจังหวะ ในส่วนการบันทึกข้อมูลเข้านั้น จะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกสำหรับการเขียน อีกส่วนสำหรับการพิมพ์อัขระพิเศษ ในส่วนของการเขียนยังถูกแบ่งอีกเป็นสามช่อง ด้านซ้ายสุดสำหรับการเขียนให้ตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ตรงกลางสำหรับการเขียนให้เป็นตัวอักษรตัวพิมพ์เล็ก และด้านขวาสุดสำหรับการเขียนตัวเลข



Transcriber : หากผู้ใช้จะบันทึกข้อมูลภาษาอังกฤษ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้การเขียนแบบ Transcriber ได้ โดยการเขียนรูปแบบนี้จะไม่มีช่องบันทึกข้อมูลเข้าอย่างสามแบบแรก ผู้ใช้สามารถเขียนลงไปที่หน้าจอในส่วนของเอกสารได้เลยแล้วเครื่องจะอ่านลายมือออกมาเป็นตัวพิมพ์ให้เองอีกที ถือว่าสะดวกมากๆ ครับ น่าเสียดายที่ไม่สามารถใช้กับตัวอักษรภาษาไทยได้เลย



บทความหน้่าจะแนะนำInput Panel ที่เป็นภาษาไทยบ้าง คอยติดตามได้ที่นี่ TrendyPDA.com ครับ




บทความอื่นๆ
31/5/2011 14:19:49 - เฉลยแล้ว ! ที่แท้ก็เป็น ASUS Padfone โทรศัพท์และแท็บเล็ตที่รวมร่างกันได้
24/5/2011 14:09:11 - ASUS ปล่อยภาพแท็บเล็ตใหม่มายั่วกันอีกแล้ว
20/5/2011 13:26:54 - Samsung Galaxy Tab 8.9 ก็มี Keyboard Dock เหมือนกัน
19/5/2011 13:47:46 - Fujitsu เตรียมวางตลาดแท็บเล็ตจอ 7" ระบบปฏิบัติการ Android 3.1
19/5/2011 13:19:45 - ข้อมูลเพิ่มเติม hTC Puccini แท็บเล็ตจอ 10.1" พร้อมการเชื่อมต่อแบบ 4G
18/5/2011 13:36:05 - หวานแหววได้อีก Acer เตรียม Aspire One Happy 2 พร้อมซีพียูแรงขึ้น
17/5/2011 14:02:09 - แกะกล่อง/พรีวิว hTC Flyer แท็บเล็ตจอ 7" รองรับการจดโน้ตด้วยปากกา
17/5/2011 13:18:11 - แกะกล่อง BlackBerry PlayBook แท็บเล็ตคู่บุญขาแชท
16/5/2011 11:47:42 - มาดู Android 3.1 ใน Motorola Xoom กัน
13/5/2011 14:05:55 - Acer แะล Samsung พร้อมปล่อย ChromeBook ลงตลาดเดือนหน้า



Bookmark this article at these sites