เข้าระบบ

ชื่อเรียก:

รหัสผ่าน:

จำฉัน



ลืมรหัสผ่าน?

สมัครสมาชิก!

เมนู

News : Software Review : Asus Eee PC 701 4G
ส่งมาโดย kiat เมื่อ 8/11/2007 8:00:00 (5434 ครั้งที่อ่าน) ข่าวสารโดยนักเขียนคนเดียวกัน

Software Review : Asus Eee PC 701 4G

เมื่อแกะกล่องเปิดเครื่องครั้งแรก ระบบจะให้ผู้ใช้ตั้งค่าต่างๆ เล็กน้อย เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และข้อมูลเกี่ยวกับถิ่นที่อยู่ เช่น เวลาและเมือง หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่หน้าแรกโดยจะมีหน้า Desktop ที่แปลกตา คือไม่มีปุ่ม Start สำหรับการเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆ แต่จะเป็นไอคอนมากมายแบ่งเป็นหลายๆ หน้า คือ Internet, Work, Learn, Play, Settings, Favorites และ Help มาดูกันว่าในแต่ละหน้ามีโปรแกรมอะไรให้ใช้กันบ้าง



Internet

หน้า Internet จะเป็นไอคอนการเรียกใช้งานต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Internet ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเช็คอีเมล์ การอ่านข้อมูลต่างๆ ในเว็บ การ chat การสร้างหรือแก้ไขเอกสารผ่านเว็บ แม้กระทั่งการฟังเพลงผ่านทางอินเตอร์เนทก็มี



ไอคอนต่างๆ ในหน้า Internet มีดังนี้

  • Web Mail จะมีลิงค์สำหรับการเข้าไปเช็คอีเมล์จาก Gmail, Hotmail, Yahoo และ AOL
  • Web สำหรับเปิดดูเว็บต่างๆ ตามต้องการ เบราเซอร์ที่ใช้คือ Mozilla Firefox
  • iGoogle เป็นลิงค์สำหรับเข้าไปใช้บริการ iGoogle
  • Messenger เป็นโปรแกรม Pidgin สำหรับการพูดคุยออนไลน์ได้หลายชื่อบัญชี ไม่ว่าจะเ็ป็น Yahoo, MSN หรือผู้ให้บริการชั้นนำอื่นๆ มากมาย
  • Skype โปรแกรมสำหรับการพูดคุยออนไลน์ของผู้ให้บริการชื่อดังอีกบริการหนึ่ง
  • Network จะแสดงหน้าต่างแสดงชื่อและการเชื่อมต่อทางเครือข่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเ็ป็นแบบสายหรือไร้สาย
  • eBook เป็นลิงค์ไปที่โฟลเดอร์ My Ebook ซึ่งเป็นที่เก็บของอีบุ๊คนั่นเอง
  • World Clock แสดงแผนที่โลกพร้อมเวลาเมื่อนำเมาส์มาไว้ในพื้นที่ที่ต้องการทราบเวลา
  • Wikipedia เป็นลิงค์ไปที่เว็บ www.wikipedia.org
  • Internet Radio เป็นลิงค์ไปที่เว็บ www.mediayou.net สำหรับการฟังวิทยุผ่านทางอินเตอร์เนท
  • Wireless Networks จะแยกออกมาเพื่อให้ผู้ใช้เลือก Access point ที่ต้องการเชื่อมต่อได้สะดวกขึ้น

Work

สำหรับหน้า Work จะมีไอคอนสำหรับเปิดโปรแกรมใช้งานสำหรับการทำงานอยู่ครบครันเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านเอกสารข้อความ สปรีดชีท การนำเสนองาน มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานให้ด้วย เช่น โปรแกรมเครื่องคิดเลข โปรแกรมพจนานุกรม เป็นต้น



ไอคอนต่างๆ ในหน้า Work มีดังนี้

  • Accessories จะมีโปรแกรมอำนวยความสะดวก คือ Calculator, PIM หรือโปรแกรมจัดการข้อมูลส่วนตัวคล้ายโปรแกรม Microsoft Outlook และโปรแกรม Screen Capture สำหรับการจัดภาพหน้าจอ ผมเองก็ใช้โปรแกรมนี้สำหรับจับภาพหน้าจอในบทความนี้
  • Documents จะเปิดโปรแกรม OpenOffice.org Writer มาให้สร้างหรือแก้ไขเอกสาร สามารถเปิดไฟล์เอกสารของ Microsoft Word ได้
  • Spreadsheets จะเปิดโปรแกรม OpenOffice.org Calc สำหรับใช้งานสเปรดชีท สามารถเปิดไฟล์ของ Microsoft Excel ได้
  • Presentations จะเปิดโปรแกรม OpenOffice.org Impress สำหรับสร้างและแก้ไขไฟล์การนำเสนอ สามารถเปิดไฟล์ของ Microsoft PowerPoint ได้
  • PDF Reader จะเปิดโปรแกรม Adobe Reader เพื่ออ่านไฟล์แบบ PDF
  • Mail เป็นโปรแกรมเช็คเมล์แบบ POP3/IMAP คุณภาพดีไม่แพ้ Microsoft Outlook Express โปรแกรมนี้พัฒนาควบคู่มากับ Mozilla Firefox โดยใช้ชื่อว่า Mozilla Thunderbird
  • File Manager โปรแกรมที่นอกจากจะจัดการไฟล์ในเครื่องได้แล้ว ยังสามารถจัดการไฟล์ของ Windows Network และ NFS Network ได้ด้วย
  • Dictionary เป็นพจนานุกรม อังกฤษ-จีน (แบบย่อ), อังกฤษ-อังกฤษ และ อังกฤษ-จีน (แบบเต็ม) ของ Longman
  • Notes เป็นเหมือนกระดาษ Post-it ที่ใช้ในสำนักงานทั่วไป เอาไว้จดโน้ตเล็กๆ น้อยๆ

Learn

สำหรับหน้า Learn จะเป็นไอคอนโปรแกรมเกี่ยวกับการเสริมเพิ่มเติมความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนหรือค้นคว้าเพิ่มเติม Asus Eee PC ก็เตรียมมาให้มากมาย



ไอคอนต่างๆ ในหน้า Learn มีดังนี้

  • Science จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ มีตารางธาติ Periodic Table และ Planetarium โปรแกรมดูดาวให้ศึกษา
  • Language เริ่มตั้งแต่การฝึกพิมพ์ดีดกับโปรแกรม Typing โปรแกรม Letter Game เกมส์เรียกตัวอักษรเป็นคำศัพท์ และเกมส์ Hangman ที่คุ้นเคยกันดี
  • Math มีโปรแกรม Fraction Tutorial สำหรับฝึกคำนวนเลขเศษส่วน โปรแกรม TuxMath เกมส์ฝึกการคำนวน โปรแกรม Geometry สำหรับการสร้างภาพเรขาคณิต และโปรแกรม Function Plotter สำหรับฝึกฝนการพล็อตกราฟ
  • Paint มีโปรแกรม Paint และ Tux Paint ซึ่งล้วนเป็นโปรแกรมสำหรับการขีดๆ เขียนๆ วาดรูปตามใจต้องการ แต่โปรแกรม Tux Paint จะมีหน้าจอที่มีสีสันและเสียงประกอบที่น่าดึงดูดใจสำหรับเด็กๆ มากกว่า
  • Web Learn จะเป็นการเข้าถึงเว็บ www.skoool.ie ที่ซึ่งมีอะไรให้เรียนรู้อีกเพียบ

Play


เมื่อ Easy to Learn และ Easy to Work ไปแล้ว ก็ถึงคราว Easy to Play กันบ้าง ในหน้า Play นี้มีอะไรที่สนุกสนานให้ความบันเทิง ไม่ว่าจะเ็ป็นการเล่นเกมส์ การดูหนังฟังเพลงหรือการใช้กล้องเว็บแคม




ไอคอนต่างๆ ในหน้า Play มีดังนี้

  • Games ที่มีมาให้ถึง 7 เกมส์ คือ Solitaire, Frozen Bubble, Crack Attact, Penguin Racer, Sodoku, Potato Guy และ LTris เกมส์ส่วนใหญ่จะเป็นเกมส์ที่ทุกๆ คนรู้จักและเคยเล่นกันมาแล้ว เล่นได้เพลินๆ ฆ่าเวลาได้มาก
  • Media Player โปรแกรมใช้สำหรับดูหนังได้หลายฟอร์แมท ประสิทธิภาพค่อนข้างดี ได้ลองดูหนังที่เป็น DivX แล้ว ลื่นไหลดีมาก
  • Music Manager โปรแกรมฟังเพลงพร้อมจัดการอัลบั้มเพลงได้ตามต้องการ
  • Photo Manager โปรแกรมดูรูปประสิทธิภาพสูง แสดงภาพแบบเต็มจอได้รวดเร็ว
  • Video Manager โปรแกรมเปิดดูคลิปวีดีโอ สามารถเปิดดูไฟล์นามสกุล WMV ได้ด้วย
  • Webcam โปรแกรมกล้องถ่ายรูป ภาพที่แสดงออกมาสีสันสดใส สว่างมาก ทำให้แปลกใจทีเดียว
  • Sound Recorder โปรแกรมสำหรับบันทึกเสียงแบบง่ายๆ ที่ใช้งานสะดวกและรวดเร็ว

Settings

ในหน้า Settings จะเป็นหน้าเกี่ยวกับระบบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าหรือการเรียกดูข้อมูลระบบ มีโปรแกรมอำนวยความสะดวกให้เรีียกใช้งานหลายโปรแกรม เปรียบเสมือน Control Panel ในระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows



ไอคอนต่างๆ ในหน้า Settings มีดังนี้

  • Anti-Virus สามารถสั่งสแกนตรวจหาไวรัสและสั่งอัพเดทไฟล์ฐานข้อมูลไวรัสให้ทันสมัยตลอดเวลา
  • Volume สำหรับปรับเสียงของลำโพง ไมโครโฟน และความดังซ้ายขวา สามารถคลิกที่ไอคอนรูปลำโพงในทาสก์บาร์ได้ด้วยเหมือนกัน
  • Instant Shutdown จะเหมือนกันการกดปุ่มเปิดปิดเครื่อง มีตัวเลือกให้เลือกคือ Task Manager, Standby, Restart และ Shut Down หากปิดฝาเครื่อง ปกติเครื่องจะเข้าสูโหมด Standby ให้อัตโนมัิติ
  • Printers สำหรับการเพิ่ม ลบ ไดร์ฟเวอร์และกำหนดเครื่องพิมพ์ปริยายให้ระบบ
  • Systerm Info สำหรับดูข้อมูลระบบ แต่ไม่ละเอียดนัก
  • Date &Time กำหนดกำหนดเวลา วันทีและ Time Zone ให้กับระบบ ข้อมูลนี้ส่วนใหญ่จะถูกกำหนดตอนเปิดเครื่องใหม่ครั้งแรกสุด
  • Personalization สำหรับกำหนดข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการ log in เข้าระบบ เช่นชื่อที่แสดง รหัสพาสเวิร์ด ธีมหรือหน้าตาของระบบที่เลือกใช้ เป็นต้น
  • Add/Remove Software จะเป็นการติดตั้งหรือถอนโปรแกรมออกจากระบบ โดยจะเป็นโปรแกรมที่ Asus เตรียมไว้ให้เท่านั้น ซึ่งมีน้อยมาก หากอยากเพิ่มโปรแกรมเอื่นๆ มากกว่านี้ แนะนำให้ใช้คำสั่ง apt-get ในหน้าต่าง Terminal ดีกว่า
  • Touchpad สำหรับกำหนดความไว้และหน้าที่ของ Touchpad ให้ตรงความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
  • Disk utility สำหรับแสดงข้อมูลของหน่วยความจำแฟลชภายใน
  • Diagnostic Tools สำหรับดูข้อมูลของระบบอย่างละเอียด นอกจากนั้นยังสามารถใช้ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบได้ด้วย
  • Desktop Mode สำหรับเลือกให้แสดงผลกับจอระบบหรือจอภายนอก หากต่อจอภายนอก สามารถปรับความละเอียดการแสดงผลได้ด้วย
  • Voice Command เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจมาก เพราะไม่เคยเห็นโฆษณาของ Asus บอกเรื่องนี้ไว้ ผู้ใช้สามารถใช้เสียงสั่งเปิดโปรแกรมต่างๆ ในเครื่องได้ ไม่ต้องมาคลิกให้เมื่อย เพียงแค่เปิดระบบ Voice Command ไว้และพูดคำว่า Computer แล้วตามด้วยชื่อโปรแกรม เช่น Computer Web ระบบก็จะเปิดโปรแกรม Mozilla Firefox ให้เลย ใช้ง่ายแต่อาจต้องฝึกสำเนียงภาษาอังกฤษสักหน่อย

Favorites

หน้า Favorites เป็นหน้าพิเศษให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มเติมไอคอนโปรแกรมที่ใช้บ่อยๆ ไม่ต้องไปไล่หาในแต่ละหน้า ยังไ่ม่ได้ทดสอบว่าสามารถเพิ่มไอคอนโปรแกรมที่ติดตั้งเพิ่มลงไปใหม่ไ้ด้หรือไม่ แต่หากเป็นโปรกรมที่มีอยู่แล้วในแต่ละหน้า รับรองว่านำมาไว้ในหน้่า Favorites ได้แน่นอน




Helpแม้จะเป็น Eee PC ที่ย่อมาจาก Easy to Learn, Easy to Work และ Easy to Play แต่ Asus ก็ไม่ต้องปล่อยให้ผู้ใช้คลำหาทางใช้ Eee PC อย่างมืดมน เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการ Xandros Linux ที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคย Asus จึงมีส่วนของ Help มาให้เรียกใช้งานอย่างสะดวก โดยแบ่งข้อมูลออกเป็นหน้าไล่ตามแต่ละหน้าที่มีให้ใช้งานคือ Desktop, Internet, Work, Learn, Play, Settings และ Favorites



จากที่ได้ลองใช้งานดู Asus Eee PC มา 2-3 วัน ต้องบอกว่าชอบมากๆ แม้หน้าจอจะเล็กเพียง 7 นิ้ว แต่โปรแกรมก็ออกแบบมารองรับกับหน้าจอเล็กๆ นี้ ทำให้ไม่ต้องเลื่อนซ้ายขวาหรือบนล่างอะไร จะมีบ้างก็คือการใช้งานอินเตอร์เนทซึ่งเว็บส่วนใหญ่จะออกแบบให้แสดงผลที่ความกว้าง 1024 พิกเซลกันแล้ว ทำให้ต้องเลื่อนซ้ายขวาไปมาเหมือนกัน แต่ตัวอักษรที่แสดงไม่ได้เล็กจนอ่านไม่ได้ สามารถเพิ่มให้ใหญ่ขึ้นได้ด้วยหากต้องการ แต่ก็มีข้อติเตียนบ้างคือส่วนของคีย์บอร์ดที่ค่อนข้างเล็ก ไม่สามารถวางมือพิมพ์ได้เหมือนคีย์ยอร์ดปกติ ต้องใช้การจิ้มดีดด้วยนิ้วเดีียวแทน ตัวระบบปฏิบัติการเองไม่ได้ออกแบบให้รองรับภาษาไทยมาตั้งแต่ต้น ทำให้ไม่สามารถพิมพ์ภาษาไทยได้ แม้จะแสดงผลได้ดีก็ตาม (การเพิ่มคีย์บอร์ดภาษาไทยต้องออกแรงปรับแต่งอีกเล็กน้อย) อีกทั้งการไม่มีการสกรีนภาษาไทยบนคีย์บอร์ดก็ทำให้การจิ้มดีดเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาทันที เรื่องแบตเตอรี่ก็เป็นเรื่องที่่น่าประทับใจมาก สามารถใช้งานได้นานมากๆ แม้ยังไม่ได้ลองจับเวลาจริงๆ จัง แต่ก็รู้สึกได้ว่าใช้งานได้นานเพียงพอกับความต้องการ

Asus Eee PC ไม่เหมาะกับการนำไปใช้ทำงานแทนเครืื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สาเหตุจากคีย์บอร์ดที่เล็กเกินไป (ยกเว้นพกคีย์บอร์ดแบบ USB ไปด้วย) แต่เหมาะกับการใช้งานอินเตอร์เนทไร้สายยามเดินทางเป็นที่สุด ด้วยหน้าจอที่ใหญ่กว่าพีดีเออยู่มาก แถมใช้โปรแกรมเบราเซอร์มาตรฐาน ทำให้มั่นใจได้ว่าสามารถใช้งานอินเตอร์เนทได้ครบถ้วน และหากมี SD Card หรือ SDHC Card ความจุสูงๆ ก็สามารถดูหนังฟังเพลงได้ดีอีกด้วย




บทความอื่นๆ
31/5/2011 14:19:49 - เฉลยแล้ว ! ที่แท้ก็เป็น ASUS Padfone โทรศัพท์และแท็บเล็ตที่รวมร่างกันได้
24/5/2011 14:09:11 - ASUS ปล่อยภาพแท็บเล็ตใหม่มายั่วกันอีกแล้ว
20/5/2011 13:26:54 - Samsung Galaxy Tab 8.9 ก็มี Keyboard Dock เหมือนกัน
19/5/2011 13:47:46 - Fujitsu เตรียมวางตลาดแท็บเล็ตจอ 7" ระบบปฏิบัติการ Android 3.1
19/5/2011 13:19:45 - ข้อมูลเพิ่มเติม hTC Puccini แท็บเล็ตจอ 10.1" พร้อมการเชื่อมต่อแบบ 4G
18/5/2011 13:36:05 - หวานแหววได้อีก Acer เตรียม Aspire One Happy 2 พร้อมซีพียูแรงขึ้น
17/5/2011 14:02:09 - แกะกล่อง/พรีวิว hTC Flyer แท็บเล็ตจอ 7" รองรับการจดโน้ตด้วยปากกา
17/5/2011 13:18:11 - แกะกล่อง BlackBerry PlayBook แท็บเล็ตคู่บุญขาแชท
16/5/2011 11:47:42 - มาดู Android 3.1 ใน Motorola Xoom กัน
13/5/2011 14:05:55 - Acer แะล Samsung พร้อมปล่อย ChromeBook ลงตลาดเดือนหน้า



Bookmark this article at these sites