เข้าระบบ

ชื่อเรียก:

รหัสผ่าน:

จำฉัน



ลืมรหัสผ่าน?

สมัครสมาชิก!

เมนู






ดีเดย์ เม.ย.นี้ จราจรอัมพาตนาน 2 ปี
มือวาง
เป็นสมาชิกเมื่อ:
15/5/2007 16:45
กลุ่ม:
สมาชิก
โพส: 927
ดีเดย์ เม.ย.นี้ จราจรอัมพาตนาน 2 ปี
กทม.ขุด 39 โครงการ...ขยายช่องจราจรเพิ่มอุโมงค์-สะพาน

หลังกรุงเทพมหานคร (กทม.) ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เข้าตรวจสอบการฮั้วประมูล 16 โครงการมูลค่า 20,000 กว่าล้านบาท เมื่อต้นปี 2549 จนต้องสั่งล้มประมูล และส่งผลให้โครงการอื่น ๆ ชะลอไปด้วยนั้น

ขณะนี้สำนักการโยธา กทม. ได้ทยอยประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือ อีอ๊อคชั่น หาผู้รับเหมามาก่อสร้างโครงการดังกล่าว รวมทั้งโครงการก่อสร้างอื่น ๆ มากถึง 29 โครงการ งบประมาณเกือบ 30,000 ล้านบาท หลังจากได้ตั้งคณะกรรมการทบทวนคุณสมบัติของผู้รับเหมาเพื่อกำหนดร่างขอบเขตของงานหรือทีโออาร์ประกวดราคาใหม่ตามที่ผู้รับเหมาเรียกร้อง เพื่อเปิดกว้างในการแข่งขันมากขึ้น พร้อมทบทวนราคากลางให้เหมาะสม

สำหรับทั้ง 29 โครงการ แยกเป็นโครงการที่ลงนามในสัญญาแล้ว 4 โครงการ ได้แก่ การขยายถนนสรงประภาจาก 2 ช่องทางเป็น 6 ช่องทาง โครงการถนนไมตรีจิตและถนนคลองเก้า ขยายจาก 2 ช่องเป็น 4-6 ช่อง โครงการปรับปรุงถนนบางบอน 5 ขยายจาก 2 ช่องเป็น 4 ช่อง และโครงการถนนพุทธมณฑลสาย 1 ขนาด 4 ช่อง ทั้งหมดเริ่มลงพื้นที่ก่อสร้างแล้ว

โครงการที่ประกวดราคาแล้ว อยู่ระหว่างรอลงนามสัญญา เสนอ อนุมัติจ้าง เคาะราคาแล้ว และรอเคาะราคา มี 18 โครงการ ได้แก่ โครงการปรับปรุงสะพานเหล็กกลุ่ม A ได้แก่ สะพานแยกท่าพระ แยกบางพลัด แยกวงศ์สว่าง และแยกประชานุกูล โครงการปรับปรุงสะพานกลุ่ม C ได้แก่ แยกรามคำแหง-ถนนพระราม 9 แยกรัชดาภิเษก-ถนนพระราม 9 ถนนอโศกดินแดง แยกอโศก-เพชร แยกคลองตัน และสะพานไทย-ญี่ปุ่น โครงการทางลอดถนนศรีนครินทร์กับถนนสุขุมวิท 103 ( แยกอุดมสุข) ขนาด 4 ช่อง ตามแนวถนนศรีนครินทร์ โครงการถนนเลียบคลองบางเขนออกถนนพหลโยธิน ขนาด 4 ช่อง โครงการขยายถนนพิชัยจากสะพานเทพหัสดินถึงถนนอำนวยสงคราม จาก 2 ช่องเป็น 4 ช่อง โครงการขยายถนนศรีนครินทร์จากแยกพัฒนาการถึงแยกถนนสุขุมวิท 103 จาก 6 ช่องเป็น 8 ช่อง โครงการตัดถนนใหม่ต่อขยายแนวถนนพัฒนาการไปสวนหลวง ร. 9 จากถนนสุขุมวิท 77 ถึงถนนสุขุมวิท 103 ขนาด 6 ช่อง โครงการก่อสร้างทางยกระดับสุวินทวงศ์ขนาด 4 ช่องตามแนวถนนสุวินทวงศ์ ที่ข้ามทางแยกถนนนิมิตใหม่ ถนนรามคำแหง และถนนราษฎร์อุทิศ โครงการปรับปรุงถนนสะแกงามจากถนนพระราม 2 ถึงถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล จาก 2 ช่องเป็น 4 ช่อง โครงการทางลอดถนนจรัญฯกับถนนพรานนก (สามแยกไฟฉาย) ขนาด 3 ช่อง

โครงการทางลอดถนนจรัญฯกับถนนบรมราชนนี (แยกบรมราชชนนี) ขนาด 3 ช่อง โครงการทางลอดตากสินกับถนนรัชดาภิเษก (แยกมไหศวรรย์) ขนาด 4 ช่อง โครงการทางต่างระดับพัฒนาการ-ถนนอ่อนนุช ขนาด 6 ช่อง โครงการก่อสร้างถนนพหลโยธิน-ถนนรัตนโกสินทร์สมโภช ขนาด 6-8 ช่อง โครงการถนนหทัยราษฎร์ ขนาด 4 ช่อง โครงการปรับปรุงถนนสายบางบอน 3 จากเอกชัยถึงถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ จาก 2 ช่องเป็น 4 ช่อง โครงการปรับปรุงสะพานเหล็กข้ามทางแยกกลุ่ม B รวม 4 แห่ง ได้แก่ แยกพงษ์เพชร แยกเกษตร แยกรัชโยธิน และแยกสามเหลี่ยมดินแดง โครงการปรับปรุงถนนคู้บอน ช่วงที่ 2 ถึงถนนหทัยราษฎร์ ขนาด 6 ช่อง เหล่านี้จะเริ่มลงพื้นที่ก่อสร้างราวเดือน เม.ย.-พ.ค.

โครงการที่อยู่ระหว่างจัดทำแบบ รายการ ประเมินราคา มี 7 โครงการ ได้แก่ โครงการทางลอดถนนศรีอยุธยา-ถนนพระรามที่ 6 ขนาด 4 ช่อง ตามแนวถนนศรีอยุธยา โครงการก่อสร้างถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 ช่วงที่ 1 จากถนนจรัญฯ ถึงถนนกาญจนาภิเษก ขนาด 6-8 ช่อง โครงการก่อสร้างถนนกรุงเทพกรีฑา-ร่มเกล้าจากถนนศรีนครินทร์-ถนนร่มเกล้า ขนาด 6 ช่อง โครงการจัดซื้อพร้อมติดตั้งสะพานบางกะปิ-ถนนนวมินทร์และแยกถนนเสรีไทย-ถนนศรีบูรพา โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนรามคำแหง-ถนนศรีนครินทร์ ผ่านซอยรามคำแหง 24 หลังมหาวิทยาลัยรามคำแหง จาก 2 ช่องเป็น 6 ช่อง โครงการถนนเพชรเกษมจากถนนเลียบคลองวิภาวดีรังสิตทวีวัฒนาถึงถนนพุทธมณฑลสาย 4 ขยายจาก 6 ช่องเป็น 8 ช่อง โครงการถนนเชื่อมระหว่างถนนมิตรไมตรีกับถนนราษฎร์อุทิศ ( ในแนวถนนคู้คลองสิบ) ขนาด 6 ช่อง กทม.วางเป้าหมายจะเร่งประกวดราคาให้ได้ผู้รับเหมาภายในเดือน ก.ค. เริ่มลงพื้นที่ราวเดือน ก.ย.-ต.ค. ปีนี้

ดังนั้นไม่ต้องสงสัยว่าตั้งแต่เดือน เม.ย. นี้ ยาวไปถึงเดือน ก.ย. พื้นที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ จะพรุนไปด้วยการก่อสร้างโครงการดังกล่าวที่ใช้เวลาสร้างราว 1-2 ปี ตามสัญญา และหากมีปัญหาอุปสรรค เช่น การก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยก ที่ต้องใช้เวลาในการรื้อย้ายสาธารณูปโภคอาจจะต้องลากยาวไปถึง 3 ปี สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือผลกระทบด้านการจราจรกับผู้ใช้รถใช้ถนน

อย่างไรก็ตามสำนักการโยธา กทม.ได้จัดเตรียมแผนงานเพื่อลดผลกระทบระหว่างก่อสร้าง ร่วมกับตำรวจ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ว่า แต่ละจุดจะต้องหาผิวจราจรทดแทน เช่น ขอยืมพื้นที่ทางเท้าขยายช่องทางเพื่อคงผิวจราจรไม่ให้น้อยกว่าด้านละ 2 ช่อง ซึ่งในส่วนของการตัดถนนสายใหม่จะไม่มีปัญหาเพราะได้เวนคืนพื้นที่ใหม่ แต่การสร้างสะพาน ทางยกระดับหรืออุโมงค์บริเวณทางแยกจะมีผลกระทบมาก หากเป็นช่วงวิกฤติ เช่น เปิดภาคเรียน ฤดูฝน หรือพื้นที่บริเวณก่อสร้างมีกิจกรรมต่าง ๆ จะปรับแผนการก่อสร้างเพื่อทยอยปิดการจราจรหรือเลื่อนงานก่อสร้างในส่วนที่กระทบการจราจรไป นอกจากนี้ จะมีการตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งรับข้อมูลจากประชาชนตลอด 24 ชม. โดยผ่านทางศูนย์ 1555 ด้วย นอกเหนือจากการโหมประชาสัมพันธ์ในทุกจุดก่อสร้างเพื่อให้ประชาชนเตรียมตัวล่วงหน้า

ทั้งนี้ปัญหาอาจจะไม่มาก เนื่องจากจุดก่อสร้างไม่ได้กระจุกตัวในที่เดียวกัน ประกอบกับ กทม. เคยก่อสร้างสะพาน 15 แห่งในช่วง 4-5 ปีก่อน ประชาชนมีประสบการณ์มาแล้ว เมื่อโครงการทั้งหมดแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มโครงข่ายจราจร บรรเทาปัญหาการจราจรลงได้

ขุดกันพรุนแบบนี้ คนกรุงเทพฯ คงได้แต่ต้องทำใจ พร้อมเผื่อเวลาเดินทาง ศึกษาทางลัด ที่สำคัญต้องอดใจรอเพื่อ 2 ปี ข้างหน้า การเดินทาง

โพสเมื่อ : 11/4/2008 9:01
Transfer the post to other applications Transfer


Re: ดีเดย์ เม.ย.นี้ จราจรอัมพาตนาน 2 ปี
มือเซียน
เป็นสมาชิกเมื่อ:
17/4/2007 16:25
กลุ่ม:
ผู้คุ้มกฎ
โพส: 15242
ขอบคุณมากครับ BTS & MRT ลูกเดียวเลยเดี๋ยวนี้ อยากขุดถนนก็ขุดไป

โพสเมื่อ : 11/4/2008 10:41
_________________
It's not too hard to find some love
but it's also not easy to make that love to be forever
Transfer the post to other applications Transfer







[ค้นหา ขั้นสูง]