เข้าระบบ

ชื่อเรียก:

รหัสผ่าน:

จำฉัน



ลืมรหัสผ่าน?

สมัครสมาชิก!

เมนู






มาดู BIOS ของ Asus Eee PC 900 กัน
มือเซียน
เป็นสมาชิกเมื่อ:
17/4/2007 16:25
กลุ่ม:
ผู้คุ้มกฎ
โพส: 15242
มาดู BIOS ของ Asus Eee PC 900 กัน

Asus Eee PC 900 วางตลาดแล้ว หลายๆ คนคงได้จับจองเป็นเจ้าของกันเรียบร้อยโรงเรียน Asus หลายๆ คนคงจะชื่นชมกับของใหม่ เล่นกันเพลินจนแบตเตอรี่หมดไปแล้ว แต่คงมีน้อยคนที่ได้เครื่องมาแล้วเปิดมาศึกษา BIOS ของเครื่องก่อนเป็นอันดับแรก เรามาดูกันว่า BIOS ของ Eee PC 900 มีอะไรกันบ้าง



การเข้าสู่หน้า BIOS settng ทำได้โดยการกด F2 ในขณะบูท เมื่อเข้าสู่ BIOS แล้วก็จะพบหน้่าแรกคือ Main

Main
หน้าแรกคือเมนู Main จะแสดงรายละเอียดทั่วๆ ไป เช่น ข้อมูลเวอร์ชันของ BIOS เอง ข้อมูลซีพียูและข้อมูลของหน่วยความจำ RAM ในหน้านี้ส่วนที่ปรับแต่งค่าได้คือข้อมูลวันที่และเวลาเท่านั้น



Advanced

มาดูหน้าต่อไปเลยดีกว่า นั่นก็คือหน้า Advanced ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่ละเอียดขึ้น โดยจะมี 4 ส่วนคือ IDE Configuration ซึ่งแสดงรายละเอียดของหน่วยความจำเก็บข้อมูล ซึ่งก็คือหน่วยความจำ Solid State Drive หรือ SSD ในเครืื่องนั่นเอง ส่วนที่สองคือ Onboard Devices Configuration สำหรับการเปิดปิดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในเครื่อง ส่วนที่สามเป็นการตั้งค่าการทำงานของเครื่องว่าจะเน้นประสิทธิภาพหรือเน้นประหยัดพลังงาน ส่วนสุดท้ายสำหรับการติดตั้งระบบปฎิบัติการ Linux



มาดูในส่วน IDE Configuration กันก่อน เมื่อกดเข้ามาจะเห็นรายละเอียดของ SSD ซึ่งในเครื่อง Eee PC 900 จะมีสองตัว แบ่งเป็น IDE Master และ IDE Slave คล้ายๆ กับในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่มีฮาร์ดดิสก์ 2 ตัว



IDE Master คือ SSD ที่อยู่ในเมนบอร์ด มีชื่อว่า ASUS PHISON OB SSD มีความจะ 4 GB



IDE Slave เป็น SSD ที่ต่อเพิ่มเติมจากในช่อง Mini PCI-E Port ใต้เครื่อง สำหรับเครื่องที่เป็น Windows จะมีความจุ 8 GB หากเป็นเครื่องที่เป็น Linux จะมีความจุ 16 GB ส่วนนี้ชื่อว่า ASUS-PHISON SSD



ในส่วนของ Onboard Device Configuration นี้ผู้ใช้สามารถเลือกเปิดหรือปิดบางอุปกรณ์ได้ตามต้องการ หากติดตั้งระบบปฏิบัติการแล้วระบบมองไม่เห็นบางอุปกรณ์ ก็มาเช็คข้อมูลใน BIOS นี้ก่อนเลยว่าถูกปิดไว้หรือไม่ หลายๆ คนบอกว่าการปิดบางอุปกรณ์ที่ไม่ใช้จะช่วยประหยัดพลังงาน ทำให้เวลาการใช้งานต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 รอบมีมากขึ้น แต่สำหรับผม เปิดตลอดโลดทุกอุปกรณ์ครับ รู้สึกตะขิดตะขวงหากมีอุปกรณ์มาให้แล้วปิดการใช้งานไม่ให้ระบบมองเห็น



มาดูในส่วน Operation Mode กันบ้าง ผู้ใช้สามารถเลือกให้เครื่องทำงานแบบ Hight Performance คือเน้นประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเลือกตัวเืลือกนี้แล้ว ซีพียูจะทำงานที่ 900 MHz เต็ม ระบบ BUS ภายในจะเป็น 100 MHz แต่หากเลือกเป็น Power Saving ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก ซีพียูจะทำงานที่ 630 MHz และ BUS ของระบบจะทำงานที่ 70 MHz เครื่องอาจจะช้าลงไปหน่อย แต่ใช้งานได้นานขึ้นมาก การเลือกตัวเลือกเหล่านี้คงต้องขึ้นอยู่กับงานที่ทำอยู่ หากใช้งานออนไลน์ทั่วๆ ไป เช่น ค้นหาข้อมูลในเว็บ คุยแชทไปเรื่อย ก็เลือก Power Saving ไว้ดีกว่า แต่หากทำงานกราฟฟิคมาก เช่น ตกแต่งรูปภาพ เล่นเกมส์ ก็ตั้งเป็น High Performance ไว้ จะไ้ด้ไม่มีปัญหาภาพกระตุกหรือต้องนั่งรอนาฬิกาทรายหมุนไปมาจนเนื่อย



ตัวเลือกสุดท้า่ยในหน้า Advanced คือ OS Installation ในส่วนนี้จะใช้สำหรับการเรียกคืนข้อมูลระบบปฏิบัติการ Xandros Linux จะแผ่น Recovery DVD โดยก่อนทำการเรีียกคืนข้อมูล ให้มาตั้งค่าเป็น Start ก่อน มิฉะนั้นอาจเกิดความผิดพลาด ไม่สามารถเรียกคืนข้อมูลและระบบปฏิบัิติการได้ และหลังจากเรียกคืนข้อมูลเสร็จแล้ว ก็ต้องมาปรับค่าให้เป็น Finished เหมือนเดิมด้วย เพราะหากปล่อยเป็น Start ไว้ จะทำให้กล้องดิจิตอลไม่ทำงานและความเร็วของ USB จะเท่ากับ USB 1.1 เท่านั้น สำหรับการเรียกคืนข้อมูลและระบบปฏิบัติการ Windows XP ไม่ต้องตั้งค่าอะไร ปล่อยเป็น Finished ไว้ได้เลย ไม่มีผลอะไร



Security

หน้านี้เป็นเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยการเข้าถึง BIOS โดยปกติหากใช้งานอยู่คนเดียว ก็ไม่ต้องไปตั้งค่าอะไร ปล่อยไว้แบบไม่มี Password ก็ได้ เพราะหากตั้งค่าไว้แล้วลืม จะยิ่งยุ่งเข้าไปใหญ่



Boot

ในส่วนของหน้า Boot นี้เป็นประโยชน์มาก เพราะจะเป็นส่วนที่สามารถกำหนดได้ว่าจะให้ระบบบูทจากสื่อไหน โดยเฉพาะ Eee PC 900 นั้น สามารถเลือกให้บูทจาก SSD ตัวที่สองได้ด้วย (ต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการที่บูทไว้ก่อนด้วย) หน้านี้จะมี 5 ส่วนคือ

  • Boot Device Priority สำหรับกำหนดลำดับการบูทของสื่อต่างๆ
  • Hard Disk Drive สำหรับกำหนดว่าให้ SSD ส่วนไหนเป็นฮาร์ดดิสก์ตัวแรกหรือตัวที่สอง
  • Boot Settings Configuration สำหรับกำหนดค่าเกี่ยวกับพฤิตกรรมการบูทของระบบ
  • OnBoard LAN Boot ROM สำหรับกำหนดให้เครื่องบูทระบบจากการเชื่อมต่อระบบ LAN
  • Boot Booster สำหรับการเร่งความเร็วการบูท



มาเริ่มที่ Boot Device Priority กัน จะเห็นว่า BIOS อนุญาตให้ระบบเลือก Boot Device ได้ถึง 4 ชนิด โดยกำหนดได้ว่าจะให้ชนิดใดถูกเลือกบูทก่อน จากตัวอย่างตัวเลือกในรูป ระบบจะเลือกบูทระบบจาก Removable Device เช่น USB Flash Drive หรือ USB Harddisk ก่อน แต่หากไม่ได้เสียบไว้ ระบบก็จะค้นหา HDD : SM-ASUS-PHISON OB SSD เพื่อบูทระบบ หากใน SSD นี้ไม่มีระบบปฏิบัติการ ระบบจะไปบูทจาก ATAPI CD-ROM ต่อไป และสุดท้ายจะบูทจาก Network : Altheros Boot Agent หากผู้ใช้ต้องการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ควรเลือกให้ตัวเลือก ATAPI CD-ROM อยู่อันดับแรก เมื่อบูทระบบ ระบบจะบูทจากแผ่น CD/DVD ก่อน



มาดูส่วนที่สองกัน ส่วนนี้ก็สำคัญ เพราะผู้ใช้สามารถกำหนดให้ SSD ไหนเป็น Harddisk ตัวแรกก็ได้ สำหรับเครื่อง Eee PC 900 รุ่น Windows ก็สามารถเลือกให้ SSD 8 GB ถูกใช้เป้น C: ได้เหมือนกัน ตรงนี้รออ่านบทความต่อๆ ไปครับ การกำหนด 1st Drive นี้จะไปมีผลกับหน้า Boot Device Priority ในส่วน HDD ด้วย



ส่วนที่สามคือ Boot Settings Configuration จะเป็นการตั้งค่ารายละเอียดปลีกย่อย โดย Quick Boot จะเป็นการบูทระบบโดยไม่ตรวจสอบจำนวนหน่วยความจำ RAM ในเครื่องก่อนบูท ส่วน Quiet Boot จะบูทระบบโดยไม่แสดงรายละเอียดมากมายขณะบูทเครื่อง



ในส่วน OnBoard LAN Boot ROM จะเป็นการเลือกให้ระบบบูทจากการเชื่อมต่อเครือข่าย LAN สำหรับการใช้งานทั่วไป ก็ไม่ต้องไปเปิดระบบไว้ ให้ Disabled ไปได้เลย จะได้ไม่เสียเวลาตอนบูท



Boot Booster เหมือนจะเป็นการเร่งให้การบูทระบบเร็วขึ้น แต่ผมก็ยังไม่เห็นความแตกต่างอะไรนัก สรุปคือใช้ไม่เป็น 555



เมื่อตั้งค่าอะไรแล้ว ก็อย่าลืมบันทึกค่าไว้ด้วย แต่หากรู้สึกว่าไปตั้งค่าอะไรเละไปหมด ก็สามารถเลือกตัวเลือก Load Setup Defaults มาใช้ก็ได้ จะเ็ป็นค่าที่ถูกตั้งมาจากโรงงาน



แม้จะเป็นผู้ใช้มือใหม่ แต่เรื่องของ BIOS ก็ควรรู้ไว้บ้าง บางครั้งปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็สามารถมาแก้ไขด้วยการปรับแต่งค่าใน ฺBIOS นิดเดียว และสำหรับผู้ใช้มือเก๋า เรื่องของ BIOS เป็นสิ่งที่ต้องรู้เลย ซึ่งในบทความต่อๆ ไป ก็จะมีการพูดถึงการพลิกแพลงการตั้งค่าของ BIOS เพื่อการใช้งาน Eee PC 900 ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย

โพสเมื่อ : 31/5/2008 11:27
_________________
It's not too hard to find some love
but it's also not easy to make that love to be forever
Transfer the post to other applications Transfer


Re: มาดู BIOS ของ Asus Eee PC 900 กัน
มือสมัครเล่น
เป็นสมาชิกเมื่อ:
25/5/2008 16:57
กลุ่ม:
สมาชิก
โพส: 25
ขอบคุณมากครับ ได้ประโยชน์มาก ๆ

โพสเมื่อ : 31/5/2008 13:35
Transfer the post to other applications Transfer


Re: มาดู BIOS ของ Asus Eee PC 900 กัน
มือสมัครเล่น
เป็นสมาชิกเมื่อ:
11/5/2008 23:03
กลุ่ม:
สมาชิก
โพส: 58
CPU ของ eee มี speed step ไหมครับ

โพสเมื่อ : 31/5/2008 23:28
Transfer the post to other applications Transfer


Re: มาดู BIOS ของ Asus Eee PC 900 กัน
มืออาชีพ
เป็นสมาชิกเมื่อ:
23/8/2008 19:47
กลุ่ม:
สมาชิก
โพส: 132
ขอบคุณครับ

โพสเมื่อ : 7/9/2008 20:21
Transfer the post to other applications Transfer


Re: มาดู BIOS ของ Asus Eee PC 900 กัน
มือเซียน
เป็นสมาชิกเมื่อ:
17/4/2007 16:25
กลุ่ม:
ผู้คุ้มกฎ
โพส: 15242
อ้างถึง:

wooder เขียนว่า:
CPU ของ eee มี speed step ไหมครับ


หากเป็นรุ่น 901 หรือ 1000H จะมี speed step ครับ เพราะใช้ซีพียู Intel Atom ส่วนรุ่นอื่นๆ ก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะเป็น 701 หรือ 900 จะใช้ซีพียู Intel Celeron-M ไม่มี speed step ครับ

โพสเมื่อ : 7/9/2008 21:25
_________________
It's not too hard to find some love
but it's also not easy to make that love to be forever
Transfer the post to other applications Transfer







[ค้นหา ขั้นสูง]