1. เปลี่ยน User เป็น Administrator ขั้นตอนนี้จะแตกต่างจากของเก่า ตรงที่หากเข้าไปตรงของเก่า เราจะไม่เจอ ให้เราทำแบบนี้แทนนะครับ ไปที่ Start => Run => พิมพ์ cmd => จากนั้นพิมพ์ net user administrator /active จากนั้น Restart เครื่องจะเจอ User Administrator โผล่มาก็ Login แล้วลบ User เก่าออกโลด แค่นี้คุณก็ไม่ต้องรำคาณกับ UAC แล้ว แต่ถ้าใครอยากใช้ ก็ใช้ User ปกติ ไปก็ได้ครับ
2. Compatibility Mode ถือว่าเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจาก Vista พอสมควร อย่างที่รู้กันว่าอาจจะมีหลายโปรแกรมที่ไม่ Support เจ้า Windows ตัวใหม่นี้อย่างเต็มรูปแบบที แต่เราก็สามารถสั่งติดตั้งและใช้งานโปรแกรมเหล่านั้นได้ อย่างไม่มีปัญหาโดยการใช้ฟังก์ชั่นนี้ วิธีใช้ก็ง่ายๆ ครับ สมมุติจะติดตั้งโปรแกรมที่ลองติดตั้งแล้ว ไม่สามารถติดตั้งได้ เพราะ Windows ฟ้องว่า “สามารถติดตั้งได้เฉพาะบน Vista เท่านั้น” ก็ให้ คลิกขวาที่ไฟล์ติดตั้ง เลือก Properties ไปที่ tab Compatibility แล้วเลือกติ๊กถูกซะ แล้ว แก้เป็น Windows XP SP2 หรือ Vista ก็ได้ แล้วลอง ดับเบิ้ลคลิก ติดตั้งดูใหม่ จะพบว่า “อาจจะ” ติดตั้งโปรแกรมนั้นได้แล้วก็ได้
3. ปิด Maximize/Minimize Effect เพิ่มความแรงให้น้องวรรณ ก็รู้กันอยู่ว่าน้องวรรณของเรานั้น ใช้ Chipset Graphic เป็น On board GMA950 บางเอฟเฟคที่แสดงผลบน Windows7 มันก็ออกจะหนักน้องวรรณไป เลยจำเป็นต้องปิดมันบ้าง ที่เห็นชัดเลย คือเอฟเฟคเวลา ย่อ/ขยาย หน้าต่าง ที่มันจะ “วืบๆ” เวลา ย่อ/ขยาย เราก็ปิดมันไปซะ วิธีปิดก็ ไปตรงหน้าเดียวกับที่ ปิด Paging File อ่ะครับ ตรง Setting ของ Performance (ขี้เกียจอธิบายแล้วไปหาเอาเอง) แต่ไปที่ tab Visual Effect แล้วเอา ติ๊กถูกที่ Animate Control and element , Animate window when minimize and maximize เอาสองอันนี้ออก เวลาใช้งานจะเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ ไม่เชื่อลองดู หรือจะลองปิดส่วนอื่นไปดูก็ได้ครับ อาจจะทำให้เร็วขึ้นเยอะเลยก็ได้
4. ปิด Service ที่ไม่จำเป็นทิ้งเสีย ก็อย่างว่าเราใช้งานบนน้องวรรณ เราก็ไม่ได้ต้องการฟังก์ชั่นหวือหวา ที่เราแทบจะไม่ต้องใช้ เราก็ปิดมันทิ้งเสียบ้าง วิธีการปิด และ Stop มัน ก็ใช้วิธีเดียวกับ Vista ล่ะครับ ลองอ่านบากบทความนี้ดู เขาอธิบายไว้อละเอียดเลย ลองเลือกๆ ปิดดูนะครับ
http://www.pantip.com/tech/article/article.php?id=214 5. ปิด Buffer Flushing บน SSD หากคุณใช้น้องวรรณรุ่น SSD ล่ะก็ สมควรต้องปิดเลยครับ เพื่อไม่ให้ต้อง Access SSD มากเกินไป วิธีปิดก็ คลิกขวาที่ไดร์ฟ C เลือก Properties แล้วไปที่ Tab hardware ดับเบิ้ลคลิกที่ P-SSD 1800 เลือก แล้วไปที่ Tab Policies (ถ้าไม่ได้ใช้ user เป็น admin จะไม่เห็น ให้กด Change Setting ก่อน แล้วจะเห็น) จากนั้น เลือก Turn off Windows write-cache buffer flushing ซะ (อันที่มัน Enable ด้านบนก็ให้ติ๊กไว้งั้นแหละ)
6. ทำให้ Windows 7 ใช้งานได้ 120 วันแบบไม่ต้อง Activate ไปที่ Start พิมพ์ cmd แล้วคลิกขวา แล้ว เลือกเข้าเป็น Admin (ถ้าใช้ User admin แล้วก็ไม่ต้องทำ) แล้วพิมพ์ C:\>slmgr -rearm แล้วรีสตาร์ทเครื่อง คุณก็จะใช้งานได้อีก 30 วัน (แนะนำให้ทำตอนที่เหลือวันน้อยๆ แล้ว)
7. ใช้งานโปรแกม Portable เพื่อช่วยลดภาระไม่ต้อง Install โปรแกรมลงบน SSD เช่น Firefox ก็ใช้ตัว Portable เป็นต้น
การทำ FBWF (Credit by คุณ Phumin)
2. เทคนิคสำคัญในวันนี้เลยครับ คือการทำ FBWF หรือชื่อเต็มๆ คือ File-Based Write Filter มันคือฟังก์ชั่นที่จะระงับการเขียนข้อมูลลงบน SSD ตัวอืดของเรานั้นเอง โดยหลักการทำงานคร่าวๆของมันคือการแบ่งแรมไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อทำการเขียนข้อมูลสำรองลงบนแรมแทน เอาเป็นว่าช่างหลักการมันเถอะครับ อยากอ่านเพิ่มก็ไปหาอ่านเอาเอง (ส่วนใหญ่ข้อมูลจะเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนั้นเลยครับ) โดยการทำนั้น ขั้นแรก ให้คุณปรับแต่งน้องวรรณให้เรียบร้อยเสียก่อน อยากลงโปรแกรมอะไรก็ลงซะให้เรียบร้อย จนคุณคิดว่า สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องปรับแต่งอีกต่อไป จากนั้นโหลดไฟล์ นี่ไปเลยครับ Download FBWF หลังจากโหลดแล้ว ก็จัดการ Run บน Windows 7 ได้เลยครับ ไม่ต้องแก้ไข Path ที่แตกไฟล์นะครับ ปล่อยมันแตกไปตามนั้นล่ะ (อ่อ สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ User Admin ก็ คลิกขวา run as administrator ด้วยนะครับ) หลังจากลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ Restart เครื่อง 1 ครั้ง จากนั้น ไปที่ Start => Run => cmd แล้วพิมพ์ (พิมพ์เสร็จ 1 บรรทัดแล้ว Enter)
fbwfmgr /enable
fbwfmgr /addvolume C:
fbwfmgr /setthreshold 256
ปล.เลข 256 คือ Ram ที่จะบังคับใช้ คุณสามารถตั้งให้มากกว่านี้ได้ เพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แต่ขั้นต่ำต้องเป็น 256 mb
เพื่อเปิดการทำงานของ FBWF แล้ว Restart เครื่องอีก 1 ครั้ง ครั้งนี้แหละ คุณจะพบว่า Windows ของคุณ จะเปิดขึ้นมาได้เร็วมาก อย่างเห็นได้ชัดเลยครับ เมนูอะไรจะเร็วดั่งติดไอพ่นก็ไม่ปาน แถมไฟที่ SSD จะแทบไม่กระพริบเลยด้วย รับรองได้ว่าเร็วขึ้นจริงๆ ครับ แล้วก็ไม่ต้องตกใจนะครับ ถ้าเข้าไปใน My Com แล้วเห็นไดร์ฟ C เป็นสีแดงๆ แสดงว่าเหลือพื้นที่อยู่แค่ประมาณ 256 mb นั่นมันไม่ใช่พื้นที่จริงๆ ที่เหลืออยู่นะครับ เป็นแค่พื้นที่สมมุติ ที่ตัว FBWF สร้างขึ้น ซึ่งในกรณีนี้ คุณจะไม่สามารถเขียนไฟล์ลงบน Drive C ได้ (เขียนได้ แต่พอ Restart ก็จะหาย กลับมาเป็นเหมือนเดิม ดังนั้นให้เก็บไฟล์ไว้ใน SD Card แทน)
จะมีปัญหานิดหน่อยตรงที่พอรีเครื่องอีกครั้งแล้ว เครื่องจะบังคับให้เข้า Recovery Mode เพื่อ Repair ให้ กดเลือกมาเข้า Start Windows แทนนะครับ ไม่ต้องไป Repair นะครับ ไม่ได้มีความเสียหายอันใด สามารเข้าใช้งานได้ปกติครับ
สำหรับคำสั่งอื่นๆ ของ fbwf ที่น่าสนใจนะครับ จะมีดังนี้ สามารถที่จะพิมพ์ fbwfmgr /help เพื่อดูเพิ่มเติมได้ครับ
* fbwfmgr / disable สำหรับปิดการทำงานของ fbwf ใช้เมื่อต้องการแก้ไข Windows หรือลงโปรแกรมเพิ่ม เมื่อกดคำสั่งแล้ว ให้ Restart เครื่อง 1 ครั้งด้วย
* fbwfmgr /addexclusion C: “\persistent\folder” เป็นคำสั่งเอาไว้เพิ่มการอนุญาต เพื่อให้สามารถเขียนไฟล์ที่โฟลเดอร์นั้นได้ เช่นในกรณีนี้ คุณก็จะเขียนไฟล์ลงบน c:/persistent/folder ได้ โดยที่ข้อมูลที่อยู่ในโฟลเดอร์จะไม่หายแม้จะ Restart เครื่อง
* fbwfmrg /overlaydetail บอกรายละเอียดต่างๆ
* fbwfmgr /setpreallocation 1 จองพื้นที่แรม (ไม่ค่อยแน่ใจว่าใช้ทำอะไรกันแน่)
* fbwfmgr/setcompression 1 บีบอัดข้อมูลที่เก็บไว้ในแรม แต่จะทำให้ใช้ CPU สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ