เข้าระบบ

ชื่อเรียก:

รหัสผ่าน:

จำฉัน



ลืมรหัสผ่าน?

สมัครสมาชิก!

เมนู






ปรากฎการณ์พระจันทร์ 2 ดวง 27 สิงหาคมนี้
มือวาง
เป็นสมาชิกเมื่อ:
15/5/2007 16:45
กลุ่ม:
สมาชิก
โพส: 927
วันที่ 27 สิงหาคม 2550 คือวันที่คนทั้งโลกตั้งตารอคอย....
เพราะดาวอังคารจะส่องแสงเจิดจรัสบนฟากฟ้าให้เห็นแบบชัดเจนที่สุดตลอดเดือนสิงหาคม ด้วยรูปทรงขนาดให?่ประดุจดังพระจันทร์เต็มดวงซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยเฉพาะวันที่ 27
สิงหาคมซึ่งทุกอย่างจะชัดเจนสมบูรณ์ที่สุดเพราะวันนั้นดาวอังคารจะอยู่ห่างจากโลกแค่ 34.65 ล้านไมล์

อย่าพลาดนะครับ...คืนวันที่ 27 สิงหาคมนี้ เวลาประมาณเที่ยงคืนครึ่ง
เราจะเห็นดวงจันทร์สองดวงบนท้องนภา (โรแมนติคมั่กมั่ก)
ปรากฎการณ์เช่นนี้จะมีให้เห็นอีกครั้งในปี คศ. 2287 (หรือพุทธศักราช 2830) ร่วมแบ่งปันเมล์นี้ให้เพื่อน (และคนที่คุณรัก / หรือแอบรัก) ด้วยนะครับเพราะนี่คือโอกาสเดียวในชีวิต
(ยกเว้นแต่คุณเป็นมนุษย์อมตะซึ่งสามารถมีชีวิตได้อีก 280 ปี)

โพสเมื่อ : 25/7/2007 11:11
Transfer the post to other applications Transfer


Re: ปรากฎการณ์พระจันทร์ 2 ดวง 27 สิงหาคมนี้
มือเซียน
เป็นสมาชิกเมื่อ:
11/4/2007 23:16
จาก ราชอาณาจักรไทย
กลุ่ม:
ผู้คุ้มกฎ
โพส: 11294

รายงานพิเศษ : ระวัง! ข่าวลือเรื่องดาวอังคาร

ปรับปรุงเมื่อ : 9 สิงหาคม 2549 วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)

พักนี้คุณผู้อ่านอาจได้รับอีเมลจากเพื่อนผู้หวังดี บอกต่อ ๆ
กันว่าปลายเดือนสิงหาคม 2549 นี้ ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ
60,000 ปี แถมมันจะมีขนาดมหึมาเทียบเท่ากับพระจันทร์วันเพ็ญ
ฉะนั้นไม่ดูไม่ได้แล้ว ให้ชวนลูกชวนหลานมาดูด้วยกัน
เพราะจะไม่มีโอกาสได้เห็นอีกแล้วตลอดชั่วชีวิตนี้
กว่าดาวอังคารจะใกล้โลกแบบนี้อีกก็ต้องรอเป็นร้อยเป็นพันปี ฯลฯ
แต่เดี๋ยวก่อน… โปรดอ่านบทความนี้ให้จบ
ก่อนที่จะส่งต่อข่าวอันน่าตื่นเต้นนี้ไปยังญาติมิตร และคนรู้จักคนอื่น ๆ
ของคุณ

ข่าวลือกับข้อเท็จจริง

แฟนข่าววิทย์น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาบ้างว่าเมื่อปี 2546
ดาวอังคารได้โคจรเข้าใกล้โลกมากเป็นพิเศษ
ผมได้เขียนถึงเรื่องปรากฏการณ์นี้ในปีนั้นอย่างน้อย 3 ครั้ง
มีทั้งข้อมูลการเข้าใกล้โลกของดาวอังคาร
การสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่าและด้วยกล้องดูดาว
และปิดท้ายด้วยควันหลงที่เอ่ยถึงข่าวลือซึ่งมีเนื้อหาเหมือนกันกับข้อความที
่กล่าวไว้ในตอนต้นของบทความนี้แบบลอกกันมา
หลังจากนั้นผมได้เขียนเรื่องดาวอังคารใกล้โลกอีกในปลายเดือนตุลาคมปีที่แล้ว
แต่การเข้าใกล้ครั้งล่าสุดนี้ห่างไกลกว่าเมื่อ 2 ปีก่อนหน้า

ทั้งสองครั้งมีข่าวลือในอินเทอร์เน็ตที่ว่าดาวอังคารจะมีขนาดใหญ่ราวกับเ
ห็นดวงจันทร์สองดวงบนท้องฟ้า มาถึงปีนี้ที่น่าแปลกใจยิ่งกว่า คือ
แม้ว่ามันจะเป็นปีที่ดาวอังคารอยู่ห่างจากโลกมาก ไม่สว่างเหมือนครั้งนั้น
แต่ข่าวเรื่องนี้ก็ยังคงย้อนกลับมาเหมือนเมื่อสองครั้งที่แล้วไม่มีผิด

ต้นตอข่าวลือไม่ได้มาจากไหน
แต่มันวนเวียนอยู่ในโลกไซเบอร์ที่มีทั้งเรื่องจริงและเรื่องที่ต้องอาศัยวิจ
ารณญาณในการรับรู้ข่าวสารของผู้อ่าน ต้นฉบับของข่าวลือเขียนเป็นภาษาอังกฤษ
เริ่มแพร่กระจายเมื่อราวกลางปี 2546
ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุด

The Red Planet is about to be spectacular! This month and next,
Earth is catching up with Mars in an encounter that will culminate in
the closest approach between the two planets in recorded history. The
next time Mars may come this close is in 2287. Due to the way Jupiter's
gravity tugs on Mars and perturbs its orbit, astronomers can only be
certain that Mars has not come this close to Earth in the Last 5,000
years, but it may be as long as 60,000 years before it happens again.

The encounter will culminate on August 27th when Mars comes to
within 34,649,589 miles of Earth and will be (next to the moon) the
brightest object in the night sky. It will attain a magnitude of -2.9
and will appear 25.11 arc seconds wide. At a modest 75-power
magnification Mars will look as large as the full moon to the naked
eye. Mars will be easy to spot. At the beginning of August it will rise
in the east at 10p.m. and reach its azimuth at about 3 a.m.

By the end of August when the two planets are closest, Mars will
rise at nightfall and reach its highest point in the sky at 12:30 a.m.
That's pretty convenient to see something that no human being has seen
in recorded history. So, mark your calendar at the beginning of August
to see Mars grow progressively brighter and brighter throughout the
month. Share this with your children and grandchildren. NO ONE ALIVE
TODAY WILL EVER SEE THIS AGAIN

เนื้อหาโดยสรุปกล่าวว่าวันที่ 27 สิงหาคม
ดาวอังคารจะใกล้โลกมากที่สุดในประวัติศาสตร์
จะเห็นดาวอังคารมีขนาดเท่าดวงจันทร์เมื่อดูด้วยกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายเพีย
ง 75 เท่า

ในขณะนั้นเนื้อหาของข้อความล้วนเป็นข้อเท็จจริง
มิได้มีส่วนใดกล่าวเกินจริง
แต่การส่งต่อข้อความโดยอาจมีการตัดทอนบางส่วนออก
การตัดข้อความบรรทัดเดียวกันแยกเป็นสองส่วน
ผู้อ่านอาจไม่มีความรู้ในศัพท์เทคนิคทางดาราศาสตร์มากพอ การสื่อสารผิดพลาด
หรือด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม ทำให้ข้อความเหล่านั้นถูกบิดเบือน
กลายเป็นว่าดาวอังคารจะใกล้โลกมากจนดูเหมือนเห็นดวงจันทร์สองดวง

การที่เนื้อหาในจดหมายดังกล่าวไม่ระบุปีที่ดาวอังคารใกล้โลก
มันจึงถูกส่งต่อทางอีเมลอีกครั้งเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วรวมทั้งปีนี้
โดยเฉพาะข้อความที่ชวนให้ตื่นเต้นว่าเราจะมีโอกาสเห็นดาวอังคารใหญ่เท่าดวงจ
ันทร์
ในประเทศไทยเองก็มีผู้หวังดีสร้างไฟล์พรีเซนเทชันนำเสนอเรื่องราวของข่าวที่
ถูกบิดเบือนนี้ในภาคภาษาไทย โดยมีสมาชิกสมาคมฯ
ส่งไฟล์ดังกล่าวสอบถามข้อเท็จจริงเข้ามาที่สมาคมฯ
ผมจึงได้รู้ว่าในเมืองไทยเองก็ส่งต่อข่าวนี้กันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน
จากข้อความเดิมที่ไม่มีส่วนใดผิดไปจากข้อเท็จจริงกลายเป็นข้อความที่
"ไม่มีแม้แต่ประโยคเดียวที่เป็นความจริง"
ดาวอังคารไม่เคยและไม่มีวันที่จะเข้าใกล้โลกจนถึงกับมีขนาดใหญ่เท่าดวงจันทร
์ ตำราดาราศาสตร์บอกเราว่าดาวอังคารมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6,792 กิโลเมตร
ดวงจันทร์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร ห่างจากโลกเฉลี่ย 384,400
กิโลเมตร
อาศัยความรู้ตรีโกณมิติระดับมัธยมก็คำนวณได้ไม่ยากว่ามันจะมีขนาดปรากฏบนท้อ
งฟ้าใหญ่เท่าดวงจันทร์ก็ต่อเมื่ออยู่ห่างจากโลกเพียง 780,000 กิโลเมตร
หรือไกลกว่าดวงจันทร์ประมาณ 2 เท่า ซึ่งไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย
และหากเป็นจริงแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารจะทำให้ระดับน้ำในโลกสูงขึ้นอย่างมาก

เรื่องจริงของดาวอังคารใกล้โลก

โลกและดาวเคราะห์ในระบบสุริยะโคจรรอบดวงอาทิตย์ในวงโคจรเกือบเป็นวงกลม
โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวอังคารจึงเคลื่อนที่เร็วกว่า
เมื่อถึงจังหวะเวลาที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคาร
มาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง
เราเรียกช่วงเวลานั้นว่าดาวอังคารกำลังอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์
(ใช้โลกเป็นจุดอ้างอิง) และมักจะเป็นช่วงที่ดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุดด้วย
โดยเฉลี่ยดาวอังคารจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ทุกๆ ประมาณ 2 ปีเศษ

ดาวอังคารไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลมสมบูรณ์แต่เป็นวงรีที่มีความร
ีเล็กน้อย ระยะห่างระหว่างดาวอังคารกับดวงอาทิตย์แปรผันอยู่ระหว่าง
207-249 ล้านกิโลเมตร
แต่ละครั้งที่มันเข้าใกล้โลกจึงมีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน (ดูภาพประกอบ)
ดาวอังคารเคยเข้าใกล้โลกมากเป็นพิเศษเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2546
ขณะนั้นอยู่ห่าง 56 ล้านกิโลเมตร
ครั้งล่าสุดที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2548
ครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นอีกในเดือนธันวาคม 2550 และ มกราคม 2553

ดูเพิ่ม

เว็บไซต์อื่น

http://thaiastro.nectec.or.th/news/2006/special/marshoax.html

สรุป 27 Aug ไม่ต้องไปแหงหน้ามองอะไรนะครับ


โพสเมื่อ : 25/7/2007 11:47
_________________
ASUS EEE 1000HE/BB 9700/Nokia E51/iPod Classic 160GB
Transfer the post to other applications Transfer


Re: ปรากฎการณ์พระจันทร์ 2 ดวง 27 สิงหาคมนี้
มือเซียน
เป็นสมาชิกเมื่อ:
11/4/2007 23:16
จาก ราชอาณาจักรไทย
กลุ่ม:
ผู้คุ้มกฎ
โพส: 11294
แถมให้

ดาวเคราะห์เดือนนี้


1 กรกฎาคม 2550 วรเชษฐ์ บุญปลอด

ดาวพุธ เพิ่งจะผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงใน (inferior
conjunction) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์เมื่อวันที่
29 มิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้ต้นเดือนกรกฎาคมยังไม่สามารถมองเห็นดาวพุธได้
ดาวพุธจะเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าในเวลาเช้ามืดตั้งแต่ประมาณวันที่ 12 กรกฎาคม
โดยขณะนั้นมีตำแหน่งอยู่ในเขตของกลุ่มดาวนายพราน
ระหว่างกลุ่มดาววัวกับกลุ่มดาวคนคู่ และสว่างด้วยโชติมาตร +1.8
แต่ดาวพุธจะอยู่ใกล้ขอบฟ้ามากจนอาจมองไม่เห็นถ้าขอบฟ้าทิศตะวันออกถูกบัง


เช้ามืดวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม
อาจเห็นดวงจันทร์เสี้ยวอยู่ห่างไปทางซ้ายมือของดาวพุธด้วยระยะเชิงมุมประมาณ
9 องศา หลังจากนั้นดาวพุธจะสว่างมากขึ้นเรื่อย ๆ
เคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ในวันที่ 18 กรกฎาคมขณะส่องสว่างด้วยโชติมาตร
+0.6 จากนั้นดาวพุธจะทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 20 กรกฎาคม
คาดว่าน่าจะสามารถสังเกตดาวพุธในเวลาเช้ามืดต่อไปได้จนถึงวันที่ 1 สิงหาคม
2550 ขณะที่มีโชติมาตร -1.0


ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.7) อยู่ในกลุ่มดาวสิงโต
มองเห็นได้บนท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำและเริ่มตกลับขอบฟ้าเร็วขึ้นเมื่
อเทียบกับหลายเดือนที่ผ่านมา
หลังจากดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวเสาร์มากที่สุดด้วยระยะเชิงมุม 40
ลิปดาในวันแรกของเดือนนี้แล้ว ดาวศุกร์จะเคลื่อนห่างออกจากดาวเสาร์
ไปผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในวันที่ 12-14 กรกฎาคม
ห่างกันเป็นระยะเชิงมุมไม่เกิน 2 องศา และมีดวงจันทร์เสี้ยวมาอยู่ใกล้ ๆ
ในค่ำวันที่ 17 กรกฎาคม


ปลายเดือนกรกฎาคมดาวศุกร์จะเริ่มเคลื่อนที่ถอยหลังเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์พ
ื้นหลัง
ดาวศุกร์ออกจากกลุ่มดาวสิงโตเข้าสู่เขตของกลุ่มดาวเซกซ์แทนต์ที่อยู่ติดกันใ
นค่ำวันที่ 30 กรกฎาคม
คาดว่าน่าจะมีโอกาสมองเห็นดาวศุกร์ในเวลาหัวค่ำต่อไปได้ถึงสัปดาห์แรกของเดื
อนสิงหาคม
หลังผ่านต้นเดือนสิงหาคมไปแล้วดาวศุกร์จะเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สาม
ารถสังเกตเห็นได้
กลับมาปรากฏให้เห็นอีกครั้งในปลายเดือนเดียวกันบนท้องฟ้าทิศตะวันออกเป็น
"ดาวรุ่ง" หรือ "ดาวประกายพรึก" ขณะอยู่ในกลุ่มดาวปู


ตลอดเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม
หากสังเกตดาวศุกร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูง
จะเห็นดาวศุกร์มีลักษณะเป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์ข้างขึ้นอ่อน ๆ
และมีขนาดใหญ่ขึ้นทุกวัน วันแรกของเดือนกรกฎาคม ดาวศุกร์มีส่วนสว่าง 35
เปอร์เซ็นต์ ขนาดเชิงมุม 32 พิลิปดา วันสุดท้ายของเดือน
ดาวศุกร์มีส่วนสว่างลดลงไปที่ 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ขนาดเชิงมุมใหญ่ขึ้นเป็น
50 พิลิปดา ส่วนความสว่างจะมากที่สุดในกลางเดือนกรกฎาคมด้วยโชติมาตร -4.7
วันสุดท้ายของเดือนความสว่างของดาวศุกร์จะลดลงเล็กน้อยไปที่โชติมาตร -4.5
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีโอกาสปรากฏในกล้องใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนและหลังการผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนวง
ใน

ดาวอังคาร (โชติมาตร +0.6)
อยู่ในกลุ่มดาวแกะเกือบตลอดเดือนกรกฎาคม
และจะย้ายเข้าสู่กลุ่มดาววัวในวันที่ 29 กรกฎาคม 2550
โดยจะเข้าใกล้กระจุกดาวลูกไก่ในต้นเดือนสิงหาคม
เดือนนี้ดาวอังคารขึ้นเหนือขอบฟ้าตั้งแต่เวลาประมาณตี 1 ครึ่ง
หลายชั่วโมงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
แต่สังเกตได้ดีที่สุดในเวลาเช้ามืดก่อนแสงทองจะจับขอบฟ้า
คนในภาคกลางจะเห็นดาวอังคารอยู่สูงเป็นมุมเงยไม่เกิน 60 องศาในเวลาตี 5
ซึ่งเป็นเวลาที่ท้องฟ้าเริ่มสว่าง
เดือนนี้ดาวอังคารสว่างมากขึ้นจากโชติมาตร +0.7 ไปที่ +0.5
ใกล้เคียงกับดาวเบเทลจุสตรงหัวไหล่ของกลุ่มดาวนายพราน
และเข้าใกล้โลกมากขึ้นทุกขณะ
ปลายปีเมื่อดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดจะเห็นดาวอังคารสว่างกว่านี้อีก
7-8 เท่า ก่อนรุ่งสางของวันจันทร์และอังคารที่ 9-10 กรกฎาคม
จะเห็นดวงจันทร์เสี้ยวข้างแรมอยู่ใกล้ดาวอังคาร ห่างกันประมาณ 9 องศา


ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.5)
อยู่ในเขตของกลุ่มดาวคนแบกงูซึ่งอยู่ระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องกับกลุ่มดาวคนยิ
งธนู หลังจากที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
เดือนนี้ดาวพฤหัสบดีมีความสว่างลดลงเล็กน้อย
เมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ รูปทรงค่อนไปทางทรงรี
มีแถบเมฆและพายุขนาดยักษ์ที่เรียกว่าจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot)
ปัจจุบันได้มีพายุขนาดเล็กที่มีสีแดงคล้ายจุดแดงใหญ่ก่อตัวขึ้นเรียกชื่อในภ
าษาอังกฤษว่า Little Red Spot หรือ Red Spot Junior
ต้นเดือนเวลาหัวค่ำจะเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่เหนือท้องฟ้าทิศตะวันออกเฉียงใต้
จากนั้นในเวลาเดียวกันของทุกวัน ตำแหน่งดาวพฤหัสบดีจะค่อย ๆ
เคลื่อนไปทางทิศใต้ ต้นเดือนกรกฎาคมดาวพฤหัสบดีตกลับขอบฟ้าในเวลาประมาณตี
4 ปลายเดือนตกลับขอบฟ้าเร็วขึ้นอีกสองชั่วโมง


ดาวเสาร์ (โชติมาตร +0.6)
อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตกใกล้กับดาวศุกร์ในกลุ่มดาวสิงโต
เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนสุดท้ายที่มีโอกาสมองเห็นดาวเสาร์ในเวลาหัวค่ำ
หลังจากเดือนนี้ดาวเสาร์จะอ้อมไปด้านหลังดวงอาทิตย์จึงไม่สามารถมองเห็นได้
กลับมาปรากฏบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดราวกลางเดือนกันยายน
ต้นเดือนกรกฎาคมดาวเสาร์ตกลับขอบฟ้าในเวลาประมาณ 21.40 น.
หลังจากนั้นมันจะตกเร็วขึ้นทุกวัน
ปลายเดือนกรกฎาคมดาวเสาร์ตกลับขอบฟ้าในเวลาก่อน 2 ทุ่มเล็กน้อย ค่ำวันที่
16-17 กรกฎาคมจะเห็นดวงจันทร์เสี้ยวอยู่ใกล้ดาวเสาร์ ห่างดาวเสาร์ประมาณ
6-7 องศา


ดาวยูเรนัส (โชติมาตร +5.8) และ ดาวเนปจูน (โชติมาตร
+7.8) อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำและกลุ่มดาวแพะทะเล ตามลำดับ
สามารถสังเกตได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ในเวลาประมาณ 0.30 - 4.40
น.ซึ่งเป็นเวลาที่ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงอยู่ห่างจากขอบฟ้ามากพอสมควรและท้องฟ
้ายังมืดสนิทอยู่
ช่วงวันที่สังเกตดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนได้ดีที่สุดโดยไม่มีแสงจันทร์รบกวนค
ือระหว่างวันที่ 10-25 กรกฎาคม ส่วนตำแหน่งของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน
ดูได้จากวารสาร "ทางช้างเผือก" ฉบับ พ.ย.-ธ.ค. 2549


ดวงจันทร์เข้าสู่ช่วงต้นของข้างแรมนับตั้งแต่วันแรกของเดือนกรกฎาคมจึงสว่างเกือบเต็ม
ดวงและอยู่บนฟ้าทุกวันในเวลาเช้ามืดตลอดครึ่งแรกของเดือน วันที่ 7
กรกฎาคมดวงจันทร์ตั้งฉากกับดวงอาทิตย์จึงเห็นสว่างครึ่งดวง
ดวงจันทร์ผ่านใกล้ดาวอังคารในเช้ามืดวันที่ 9-10 กรกฎาคม
และอยู่ใกล้กระจุกดาวลูกไก่ในเช้ามืดวันพุธที่ 11 กรกฎาคม ห่างกันเพียง 2
องศา วันที่ 13
กรกฎาคมเป็นวันสุดท้ายที่มีโอกาสเห็นดวงจันทร์ในเวลาเช้ามืดก่อนที่มันจะเข้
าสู่ตำแหน่งจันทร์ดับในวันที่ 14 กรกฎาคม


ดวงจันทร์กลับมาปรากฏบนท้องฟ้ามองเห็นได้ในเวลาหัวค่ำตั้งแต่วันจันทร์ที
่ 16 กรกฎาคมโดยปรากฏเป็นเสี้ยวบาง ๆ อยู่ต่ำกว่าดาวเสาร์
ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านใกล้ดาวศุกร์กับดาวหัวใจสิงห์ในค่ำวันที่ 17
กรกฎาคมด้วยระยะเชิงมุมไม่เกิน 2 องศา
นับเป็นปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนที่น่าชมครั้งหนึ่ง
จากนั้นดวงจันทร์เคลื่อนห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นพร้อมกับพื้นที่สว่างบนตัว
ดวงที่เพิ่มขึ้น ค่ำวันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม
ดวงจันทร์ผ่านใกล้ดาวรวงข้าวและจะสว่างครึ่งดวงในวันถัดไป คืนวันศุกร์ที่
25 กรกฎาคม
จะเห็นดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีกับดาวแอนทาเรสในกลุ่มดาวแมงป่อง
จันทร์เพ็ญของเดือนนี้ตรงกับคืนวันที่ 29 ต่อเช้าวันที่ 30 กรกฎาคม
ซึ่งตรงกับคืนวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา


ดูเพิ่ม

http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/planets/

โพสเมื่อ : 25/7/2007 11:48
_________________
ASUS EEE 1000HE/BB 9700/Nokia E51/iPod Classic 160GB
Transfer the post to other applications Transfer


Re: ปรากฎการณ์พระจันทร์ 2 ดวง 27 สิงหาคมนี้
มือวาง
เป็นสมาชิกเมื่อ:
15/5/2007 16:45
กลุ่ม:
สมาชิก
โพส: 927
ขอบคุณคุณจิ๋วสำหรับข้อมูลเพิ่มครับ

โพสเมื่อ : 25/7/2007 11:54
Transfer the post to other applications Transfer


Re: ปรากฎการณ์พระจันทร์ 2 ดวง 27 สิงหาคมนี้
มืออาชีพ
เป็นสมาชิกเมื่อ:
16/5/2007 7:13
จาก Nowhere
กลุ่ม:
สมาชิก
โพส: 479
ครับ เคยได้ข่าวแบบนี้มาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
เนื้อข่าวจริงๆก็คือ ความสว่างของดาว (มักจะเป็นดาวศุกร์ หรือไม่ก็ดาวอังคาร เพราะเป้นดาวที่สว่างที่สุดอันดับแรกๆในท้องฟ้า) จะสว่างสุกใสมากเพราะอยู่ใกล้โลกและหันด้านสว่างเข้ามา สว่างเสียจนเป็นรองแค่ดวงจันทร์เท่านั้น

แต่นักสร้างข่าวเอาไปแปลงสารเสียจนกลายเป็นว่า ดาวอังคารมีขนาดปรากฏ เท่าดวงจันทร์เสียนี่
เราผู้บริโภคข่าว เลยต้องระมัดระวังกันหน่อยครับ

โพสเมื่อ : 27/7/2007 8:00
Transfer the post to other applications Transfer







[ค้นหา ขั้นสูง]